DSpace Repository

ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยทันตกรรมที่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้า ในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุปราณี วิเชียรเนตร
dc.contributor.advisor สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
dc.contributor.author ปรางทิพย์ โพธิวิรัตนานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-05-26T14:24:20Z
dc.date.available 2012-05-26T14:24:20Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19874
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก ของผู้ที่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้า โดยศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจากคณะทันต-แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 463 คน เป็นเพศชาย:หญิงเท่ากับ 1:1.4 อายุ 15-60 ปี เฉลี่ย 32.06±12.1 ปี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มอาการปวดจากความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกรร้อยละ 10 กลุ่มอาการปวดจากความผิดปกติในปากร้อยละ 68 และกลุ่มที่ไม่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้าร้อยละ 22 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีคำถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ลักษณะความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้า ภาวะสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากโดยให้ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง พบว่าความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้าส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Kruskal-Wallis test, P<0.0001) โดยกลุ่มความผิดปกติบริเวณขมับ-ขากรรไกรได้รับผลกระทบเรื่องความลำบากในการกินอาหาร และความรู้สึกกังวลกับลักษณะของตัวเองมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.1 ส่วนกลุ่มความผิดปกติจากอาการปวดในปากได้รับผลกระทบเรื่องปัญหาระหว่างการกินอาหารมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42 ผลจากการศึกษาครั้งนี้แสดงว่าความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้าส่งผลกระทบเชิงลบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากอย่างชัดเจน และสะท้อนทิศทางความต้องการการรักษาของผู้ที่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้าประเภทต่าง ๆ en
dc.description.abstractalternative This study aimed to investigate the oral health related quality of life (OHRQoL) in orofacial pain patients. A cross-sectional study was performed on 463 patients, aged 15-60, mean±S.D. = 32.06±12.1, male:female = 1:1.4, at Chulalongkorn University Dental School. Participants comprised 10% temporomandibular disorders (TMDs) patients, 68% intraoral pain patients and 22% non-orofacial pain patients. Data were collected by using self-administered questionnaires consisting of questions regarding demographic data, orofacial pain conditions, mental health status, and the OHRQoL. This study found that orofacial pain has a statistically impact on the OHRQoL (Kruskal-Wallis test, P<0.0001). In addition, discomfort while eating and self-consciousness were the items reported most impact in the TMDs group (57.1%), while interrupted meals were the most impact in the intraoral pain group (42%). As a result, orofacial pain showed a significant impact on OHRQoL and reflected the treatment needs in each orofacial pain type. en
dc.format.extent 2211047 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2230
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หน้าบาดเจ็บ
dc.subject คุณภาพชีวิต
dc.subject เวชศาสตร์ช่องปาก
dc.title ผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยทันตกรรมที่มีความเจ็บปวดช่องปาก-ใบหน้า ในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title.alternative Impact on oral health related quality of life in orofacial pain patients at Chulalongkorn University Dental School en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมบดเคี้ยว es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Supranee.V@Chula.ac.th
dc.email.advisor Somrat.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.2230


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record