DSpace Repository

บทบาทของผู้แทนชุมชนในกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน : ศึกษากรณีคดีอาชญากรรมที่ปราศจากเหยื่อในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย
dc.contributor.author สถาพร พันธมิตร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-02T12:24:29Z
dc.date.available 2012-06-02T12:24:29Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19983
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract ศึกษาลักษณะ บทบาทและความสำคัญ รวมถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้แทนชุมชนมีบทบาทในกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน และมาตรการในการเยียวยาและแก้ไขเด็กและเยาวชน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกต เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเด็กและเยาวชนกระทำผิด ในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 ราย และผู้แทนชุมชนที่เคยเข้าร่วมกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน จำนวน 6 ราย ในคดีมียาเสพติดประเภท 5 (กัญชา) ไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ร่วมกันลักลอบเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต และขับรถจักรยานยนต์ในขณะเมาสุรา ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะของผู้แทนชุมชนมีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีความสำคัญทั้งในระหว่างการประชุมฯ และภายหลังการประชุมฯ เสร็จสิ้น โดยผู้แทนชุมชนมีบทบาทในการพูดตักเตือน ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ทั้งเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดรวมถึงผู้ปกครอง นอกจากนี้ยังมีบทบาทให้ความช่วยเหลือ หาข้อตกลง วางมาตรการแก้ไขเด็กและเยาวชนร่วมกับคณะสหวิชาชีพ และติดตามสอดส่องดูแลเด็กและเยาวชนภายหลังกลับคืนสู่ชุมชนด้วย ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผู้แทนชุมชนมีบทบาทในการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน ได้แก่ ปัจจัยภูมิหลัง การมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบ ความต้องการมีส่วนร่วม และการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน ดังนั้นในกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน จึงควรกำหนดบทบาทของผู้แทนชุมชนให้มีความชัดเจน และเชิญผู้แทนชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เดียวกับเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดเข้าร่วมการประชุมด้วย en
dc.description.abstractalternative To study the role and importance as well as the factors that made community representatives play their roles in the process of family and community groups conferencing and in rehabilitation measures. This study is qualitative research, used in-depth interview and observation technique in collecting data from 6 youths and 6 community representatives who had experiences in attending family and community group conferencing among drug, gambling, and drunk driving cases. The finding showed that community representatives have both formal and informal characteristics in the communities and play important roles both between and after the meeting. More than that, the community representatives have roles in advising and encouraging youths and their parent as well. In addition, they participate in laying treatment measurements with multidisciplinary team, and monitor youths behaviors after they had returned to their communities. The factors that made community representatives have roles in family and community groups conferencing are; background, conscious and responsibility, participation and juvenile offending behavior. Therefore, in family and community groups conferencing we should clearly note the role of community representative and invite community representatives from the same area with youths, as well. en
dc.format.extent 2308245 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1862
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้นำชุมชน en
dc.subject ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน en
dc.subject อาชญากรรมที่ปราศจากเหยื่อ en
dc.subject กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
dc.subject การแก้ไขผู้กระทำผิดแบบใช้ชุมชนเป็นฐาน
dc.subject Juvenile delinquency
dc.subject Civic leaders
dc.subject Crimes without victims
dc.subject Restorative justice
dc.subject Community-based corrections
dc.title บทบาทของผู้แทนชุมชนในกระบวนการประชุมกลุ่มครอบครัวและชุมชน : ศึกษากรณีคดีอาชญากรรมที่ปราศจากเหยื่อในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Community representative's role in family and community groups conferencing : a case study of victimless crime in the Observation and Protection Center in Bangkok Metropolis en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สังคมวิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Jutharat.U@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1862


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record