DSpace Repository

การประกันภัยความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
dc.contributor.advisor อายุศรี คำบรรลือ
dc.contributor.author นับทอง วนวัฒนาวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-03T12:05:32Z
dc.date.available 2012-06-03T12:05:32Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20025
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract การบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ส่งผลให้ผู้ประกอบการและผู้ประกอบธุรกิจซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติดังกล่าว มีความเสี่ยงที่จะต้องรับผิดในค่าสินไหมแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้น นอกเหนือจากความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการเยียวยาความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีการกระทำละเมิดที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจ จึงเกิดการทำประกันภัยความรับผิดที่มีข้อตกลงคุ้มครองความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษขึ้นในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดดังกล่าว ไม่สามารถบังคับใช้ให้ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษได้ในทุกกรณีตามที่กำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย การวิจัยนี้ได้ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ และการประกันภัยความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคุ้มครองในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ และข้อกำหนดกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส และวิเคราะห์ปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้น รวมทั้งเสนอแนะแนวทางในการกำหนดรูปแบบของข้อกำหนดกรมธรรม์ประกันภัยความรับผิด ตลอดจนการปรับใช้หรือแก้ไขเพิ่มเติมหลักกฎหมายประกันภัยความรับผิดของประเทศไทย ให้มีความเหมาะสมและสามารถรองรับการทำประกันภัยความรับผิด ที่มีการคุ้มครองในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศพบว่า การให้ความคุ้มครองความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ ในกรณีผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในประเทศไทย ไม่สามารถกระทำได้โดยง่ายเนื่องจากต้องแก้ไขหลักการสำคัญตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งหลักเรื่องการพิจารณาความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และหลักการตีความหลักความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดปัญหาการตีความกรมธรรม์ประกันภัยหรือความสำคัญผิดของผู้เอาประกันภัยเกี่ยวกับความคุ้มครอง ในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษตามกรมธรรม์ประกันภัย การแก้ไขปัญหาที่สามารถกระทำได้ทันทีคือ การปรับปรุงแบบและข้อความกรมธรรม์ประกันภัยในส่วนการให้ความคุ้มครองค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ ให้มีข้อยกเว้นความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ อันเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้เอาประกันภัย และต่อไปควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 ให้มีข้อยกเว้นในลักษณะเดียวกันไว้ในมาตราที่มีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษด้วย
dc.description.abstractalternative The adoption of the Product Liability Act B.E. 2551 and the Consumer Case Procedures Act B.E. 2551 results in risk of business operators being liable for punitive damages, in a tort case arising in connection with the business operation, apart from the risk in liability for compensatory damages as imposed under the Thai civil and commercial code. This results in the use of the liability insurance policy covering punitive damages in Thailand. The assumption of this thesis is that the policy does not provide coverage for punitive damages in every aspect as intended. This thesis is conducted by studying the laws relating to the award of punitive damages, liability insurance laws relating to coverage for punitive damages, and the insurance policy provisions in such respect of Thailand and foreign countries, i.e. the United Kingdom, the United States, and France and analyze the legal issues in relation to the coverage for punitive damages under liability insurance. Based on the study, the author has proposed in this thesis the appropriate form of insurance policy provisions in respect of the coverage for punitive damages, the implementation guideline of law provisions regarding the insurance of liability for punitive damages, as well as the revision to the liability insurance laws of Thailand for effective liability insurance for punitive damages coverge. It is found in the comparative study of foreign law that to provide coverage for punitive damages resulting from the willful or gross negligent act of the insured cannot be easily obtained as it requires revision of various material principles under the civil and commercial code, i.e. the principle of defining gross negligence and the principle of public policy consideration. Therefore, in order to prevent the insurance policy interpretation issue, as preliminary solution, exclusion of coverage in such circumstances should be adopted to the liability insurance policy. Afterwards, it is expedient to revise the provisions under Product Liability Act B.E. 2551 and the Consumer Case Procedures Act B.E. 2551 to also provide similar exclusion. en
dc.format.extent 6661311 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1868
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ประกันภัยความรับผิด en
dc.subject ค่าสินไหมทดแทน en
dc.subject พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551
dc.subject พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
dc.subject Liability insurance
dc.subject Indemnity
dc.subject Products liability
dc.title การประกันภัยความรับผิดในค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษ en
dc.title.alternative Liability insurance : coverage for punitive damages en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sanunkorn.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1868


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record