DSpace Repository

ผลกระทบของวินัยตลาดต่อการดำรงเงินกองทุนส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor โสตถิธร มัลลิกะมาส
dc.contributor.author สาวิณี โภครักษ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-05T14:28:40Z
dc.date.available 2012-06-05T14:28:40Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20045
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลกระทบของวินัยตลาดต่อแรงจูงใจในการดำรงเงินกองทุนส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ไทย โดยการกำกับดูแลจากวินัยตลาดมาจาก 3 ทาง ได้แก่ ผู้ฝากเงิน นักลงทุนในหุ้นกู้ และนักลงทุนในหุ้น การศึกษาใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาสของธนาคารพาณิชย์ไทยจำนวน 12 แห่ง ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2544 ถึงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 วิธีที่ใช้ในการประมาณค่า คือ วิธี Generalized Least Square (GLS) แบบ Fixed Effect Model ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนหุ้นกู้ต่อหนี้สินทั้งหมดซึ่งเป็นตัวแทนวินัยตลาดของนักลงทุนในหุ้นกู้ และค่า Tobin’s q ซึ่งเป็นตัวแทนวินัยตลาดของนักลงทุนในหุ้นธนาคารพาณิชย์ มีอิทธิพลในทิศทางบวกต่อการดำรงอัตราเงินกองทุนส่วนเกิน สำหรับวินัยตลาดของผู้ฝากเงินซึ่งส่วนใหญ่เป็นรายย่อย แทนด้วยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินฝากกับตั๋วเงินคลัง และสัดส่วนเงินฝากระยะสั้นต่อเงินฝากรวมไม่มีอิทธิพลต่อการดำรงอัตราเงินกองทุนส่วนเกิน ธนาคารพาณิชย์จะปรับอัตราเงินกองทุนเข้าสู่ระดับเป้าหมายประมาณร้อยละ 30 ของความแตกต่างระหว่างอัตราเงินกองทุนที่มีอยู่จริงในช่วงเวลาก่อนหน้ากับอัตราเงินกองทุนในระดับเป้าหมาย อันเนื่องมาจากต้นทุนในการปรับระดับอัตราเงินกองทุน และยังพบว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ดำรงอัตราเงินกองทุนส่วนเกินน้อยกว่าธนาคารขนาดเล็ก สำหรับสินเชื่อและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลในทิศทางลบกับอัตราเงินกองทุนส่วนเกิน การบังคับใช้หลักเกณฑ์ Basel II มีอิทธิพลในการเพิ่มอัตราเงินกองทุนส่วนเกิน
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to investigate the impacts of market discipline on capital buffers of Thai commercial banks. Three channels of market discipline are included depositors, debenture investors and shareholders. We use the secondary data of 12 Thai commercial banks from 1st quarter in 2001 to 4th quarter in 2009 and employ Generalized Least Square Regressions with Fixed Effect Model. The study finds that the proportion of debenture to total debt, a proxy of market discipline from debt holders, and Tobin’s q, a proxy of market discipline from shareholders, have positive impact on capital buffers. However, market discipline of depositors, defined as the interest rate spread and the maturity of deposits, have no significant impact on capital buffers. The speed of adjustment of capital buffers is 30% of the difference between the target levels and the actual levels of capital buffer per quarter because of the adjustment costs. In addition, big banks have lower capital buffers than small banks. Moreover, loans and the annual growth of real per capita gross domestic product (GDPGR) have negative impacts on capital buffers. Basel II enforcement has also positive impact on capital buffers.
dc.format.extent 2604049 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ธนาคารและการธนาคาร -- ไทย
dc.subject เงินทุน
dc.title ผลกระทบของวินัยตลาดต่อการดำรงเงินกองทุนส่วนเกินของธนาคารพาณิชย์ไทย en
dc.title.alternative The impacts of market discipline on capital buffers of Thai commercial banks en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sothitorn.M@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record