DSpace Repository

การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์
dc.contributor.author อทิตยา แก้วพิลา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-05T15:05:18Z
dc.date.available 2012-06-05T15:05:18Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20055
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาการจัดการท่องเที่ยวของตลาดบ้านใหม่ ปัญหาและแนวโน้มการท่องเที่ยวในอนาคต 2) ศึกษาบทบาทของหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุนการจัดการท่องเที่ยวของตลาดบ้านใหม่และ 3) เสนอแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวที่เหมาะสมของชุมชนตลาดบ้านใหม่ภายใต้ความต้องการของคนในชุมชน เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสำรวจทางกายภาพ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนา การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และการใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดบ้านใหม่มีรูปแบบของการจัดการผ่านองค์กรชุมชน 2 องค์กร คือ 1) ชมรมรักษ์ตลาดบ้านใหม่ :ซึ่งมีคณะกรรมการชมรมฯ ทำหน้าที่จัดการท่องเที่ยวและประสานภายในชุมชนและหน่วยงานภายนอก 2) คณะกรรมการจัดระเบียบขายของในตลาดบ้านใหม่ ทำหน้าที่จัดทำทะเบียนผู้ค้าขาย ออกใบอนุญาตขายของ จัดตำแหน่งการตั้งขายสินค้าให้เหมาะสม พิจารณาประเภทสินค้าและราคาสินค้า ให้อนุมัติผู้ค้ารายใหม่แทนรายเดิม และช่วยแก้ไขปัญหาทั่วไปที่เกิดขึ้นภายในตลาด ทั้ง 2 องค์กรชุมชนทำงานร่วมกันในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการติดต่อประสานงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดบ้านใหม่ หน่วยงานที่สำคัญ ได้แก่ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคกลาง เขต 8 (เดิม) หน่วยงานสนุบสนุนอื่นๆ ได้แก่ สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี และสถาบันการศึกษา การเข้ามาสนับสนุนส่วนใหญ่ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การตลาด และการจัดกิจกรรม เป็นต้น ปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนแห่งนี้ ได้แก่ การบริหารงานองค์กรชุมชนที่ยังไม่ชัดเจนในการทำงานของแต่ละฝ่าย การให้บริการที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของนักท่องเที่ยว และขาดการเข้ามาสนับสนุนเรื่องการศึกษาวิจัยในการพัฒนาการท่องเที่ยว จากการศึกษาวิจัย มีข้อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดบ้านใหม่ ได้แก่ 1) การบริหารงานองค์กร 2) การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในตลาด และ 3) การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของชุมชน การดำเนินการดังกล่าวจะสามารถนำไปสู่การรักษาทรัพยากรในท้องถิ่น การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน อันจะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างทรัพยากร เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมของชุมชน รวมถึงการสร้างกระบวนการให้ชุมชนได้เรียนรู้เรื่องการมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว en
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are 1) to study the tourism management of Ban Mai Market , problem and future of the travel trend 2) to study the role of various agencies inwhich supporting tourism management of the market 3) to propose the guidelines to improve the management based on the need of its community. The qualitative research has been done by physical surveying, observation by using participation and non participation process, and interview stakeholder with and without using questionnaire. From the study, it is found that the tourism management of Ban Mai market depend on 2 organizations having working together.The first one is “Ban Mai market conservation club” which has management by the board of its community and also responsible on tourism management and to coordinate with its community people and outside stakeholder.The second one is “The Market Reguration Committee” which has been responsible for vender registration, giving sale permits,allocating sale location,considering product and its price, giving the new vender to replace the old one and to solve the common problems in the market. The two community have been working together to set operating guidelines, activities and to corperate with other organization which participating the tourism management of Ban Mai Market. The most important organization are normaly the Municipalicy of Muang Chachoengsao and the Office of The Central Region no.8, of the Tourism Authority of Thailand. The other supporting organization are the Office of Chacheongsoa Province, the office of Prachinburi no.5 of the fine Art department and the education institutes. Most of the supports are public relations, marketing and event organizing for example. The problems of the management of this market are the role of each organization are not clearly specily, inadequate services to response the need of tourists, and the lack of academic research to support tourism development. The result of this research proposed guidelines so as to solve problem of tourism management in Ban mai market. They are 1) managing organization 2) improving infrastructure and facilities of the market 3) academic research to support local knowledge. All this improvement would lead to concern its local resource, to strengthen local economy for sustainable development so as to balance the community resource, economy and environment including the participation process in tourism management en
dc.format.extent 3944076 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.115
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การท่องเที่ยวโดยชุมชน en
dc.subject ชุมชนตลาดบ้านใหม่ ( ฉะเชิงเทรา) en
dc.subject ตลาด -- ไทย -- ฉะเชิงเทรา en
dc.title การจัดการท่องเที่ยวของชุมชนตลาดบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา en
dc.title.alternative Tourism management of Ban Mai Market Community Muang District Chachoengsoa Province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การวางแผนภาคและเมือง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Siriwan.Si@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.115


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record