Abstract:
การคาดการณ์อย่างสมเหตุสมผล (Rational ความสามารถที่จำกัดในการประมวลผลและข้อมูลต่างๆ การศึกษาครั้งนี้จึงใช้แนวคิดเรื่องการเงินเชิงพฤติกรรม (Behavioral Finance) เพื่อวิเคราะห์บทบาทของอัตราexpectation) เป็นสมมติฐานหลักที่ได้รับความนิยมในการทำแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตามสมมติฐานดังกล่าวไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริงของมนุษย์ซึ่งมีความดอกเบี้ยที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยนและพฤติกรรมความผันผวนของตัวแปรอื่นๆในระบบเศรษฐกิจโดยใช้เพียงกฎการคาดการณ์อย่างง่ายในการคาดการณ์
เมื่อเปรียบเทียบผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้คาดการณ์ของผลผลิต อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนต่อตัวแปรต่างๆในระบบเศรษฐกิจ ในกรณีการคาดการณ์เป็นแบบสมเหตุสมผลและการคาดการณ์อย่างง่าย พบว่ามีทิศทางที่คล้ายกันแต่ขนาด ในกรณีการคาดการณ์อย่างง่ายจะน้อยกว่า (ยกเว้นผลที่เกิดจากการเปลี่ยนที่ไม่ได้คาดการณ์ของอัตราแลกเปลี่ยน) นอกจากนี้ยังพบว่าเมื่อเพิ่มระดับการตอบสนองของนโยบายการเงินที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทั้งส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของสัดส่วนช่องว่างการผลิตและอัตราเงินเฟ้อจะลดลงในช่วงแรก หลังจากการนั้นการเพิ่มการตอบสนองจะทำให้ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของทั้งสองตัวแปรเพิ่มมากขึ้น ธนาคารกลางจึงควรดำเนินนโยบายการเงินโดยมีการตอบสนองต่ออัตราแลกเปลี่ยนเพียงเล็กน้อย