DSpace Repository

การหลีกเลี่ยงความสูญเสียด้วยมุมมองอันคับแคบกับพฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือน

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิศรา ศานติศาสน์
dc.contributor.author นวโดม ชัยลอม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-08T09:53:02Z
dc.date.available 2012-06-08T09:53:02Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20166
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract ผู้ที่ประสบปัญหาการชำระหนี้มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งทฤษฎีการบริโภคภายใต้การคาดการณ์อย่างมีเหตุผลไม่สามารถอธิบายเหตุการณ์ดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากถ้าคนมีการคาดการณ์อย่างมีเหตุผลจริงก็ไม่ควรมีการประสบปัญหาในการชำระหนี้เป็นจำนวนมาก แนวคิด Myopic Loss Aversion จึงน่าจะใช้อธิบายได้ดีกว่า งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลของ Myopic Loss Aversion ที่มีต่อพฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือนผ่านปัจจัยกำหนดโอกาสในการเป็นหนี้และปริมาณภาระหนี้, ผ่านการสำรวจตัวเองของกลุ่มตัวอย่าง และผ่านพฤติกรรมการบริโภค ผลการศึกษาผ่านปัจจัยกำหนดโอกาสในการเป็นหนี้และปริมาณภาระหนี้พบว่ากลุ่มที่ไม่สามารถคาดการณ์รายได้ในอนาคตอย่างมั่นใจซึ่งเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ก่อหนี้แบบ Myopic Loss Aversion มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการประสบปัญหาการชำระหนี้ในอนาคต ผลการศึกษาผ่านการสำรวจตัวเองของกลุ่มตัวอย่างพบว่าค่าความเป็น Myopic Loss Aversion มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญต่อโอกาสที่จะประสบปัญหาการชำระหนี้ และผลการศึกษาผ่านพฤติกรรมการบริโภคของผู้ก่อหนี้พบว่าการบริโภคของกลุ่มตัวอย่างมีการตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นของรายได้มากกว่าการลดลงของรายได้อย่างชัดเจนซึ่งแสดงถึงแนวโน้มในการเป็น Myopic Loss Aversion ผู้วางนโยบายควรจะลดการก่อหนี้แบบ Myopic Loss Aversion โดยสร้างความแน่นอนทางด้านรายได้ให้กับทุกสาขาอาชีพและมีการจูงใจให้ผู้ประกอบอาชีพพัฒนาศักยภาพของตน นอกจากนี้ควรพยายามจำกัดการก่อหนี้เพื่อการบริโภคให้ลดลง โดยส่งเสริมการก่อหนี้เพื่อการลงทุนซึ่งเป็นการก่อหนี้ที่ได้รับผลตอบแทนในระยะยาว en
dc.description.abstractalternative There are many suffering debtors in Thailand. The consumption theory with rational expectation concept can not explain that fact effectively, because if consumers really have rational expectation, they should not suffer. The concept of Myopic Loss Aversion may be better. The purpose of this research is to study the influence of Myopic Loss Aversion to explain household debt behavior through the factors of probability to have debt and debt quantity, through the samplers’ observation by themselves, and through debtor’s consumption. The finding of study through the factors of probability to have debt and debt quantity indicates that the Myopic Loss Aversion representatives who can not predict future income have risk to suffer from their debt behavior. The finding of study through the samplers’ observation by themselves indicates that the MLA scores relate to the problem of debt payment positively. The finding of study through debtor’s consumption indicates that the samplers’ consumption has higher response to increasing in income than decreasing in income. Policy makers should decrease Myopic Loss Aversion behavior by minimizing income uncertainty and motivate people to increase their potential. Moreover, they should limit consumption debt and support investment debt which has a long run return. en
dc.format.extent 2546791 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.358
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject หนี้ en
dc.title การหลีกเลี่ยงความสูญเสียด้วยมุมมองอันคับแคบกับพฤติกรรมการก่อหนี้ภาคครัวเรือน en
dc.title.alternative Myopic loss aversion and household debt behavior en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Isra.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.358


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record