DSpace Repository

ผลการเสริมผงน้ำดีสุกรในอาหารที่มีไขมันสูงต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และสรีรวิทยาของการย่อยไขมันในไก่เนื้อระยะเล็ก

Show simple item record

dc.contributor.advisor กฤษ อังคนาพร
dc.contributor.advisor สุวรรณา กิจภากรณ์
dc.contributor.author กนกภรณ์ ลำมะศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-06-09T10:12:14Z
dc.date.available 2012-06-09T10:12:14Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20199
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract ศึกษาผลการเสริมผงน้ำดีสุกรต่อการย่อยได้ของไขมันและโปรตีน การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของการย่อยของไขมันในทางเดินอาหาร และสมรรถภาพการเจริญเติบโตของไก่เนื้อที่ได้รับอาหารไขมันสูง โดยใช้ไก่เนื้อพันธุ์อาร์เบอร์ เอเคอร์ เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 1,110 ตัว แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ไก่ได้รับอาหารพื้นฐานที่มีข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นหลัก ร่วมกับน้ำมันปาล์มดิบเป็นระยะเวลา 37 วัน กลุ่มที่ 1 ได้รับอาหารพื้นฐานที่มีน้ำมันปาล์ม 3% กลุ่มที่ 2 ได้รับอาหารพื้นฐานที่มีน้ำมันปาล์ม 6% (อาหารไขมันสูง) กลุ่มที่ 3 ได้รับอาหารเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 2 และเสริมเลซิติน 0.50% กลุ่มที่ 4, 5 และ 6 ได้รับอาหารเดียวกับกลุ่มที่ 2 และเสริมผงน้ำดีสุกร 0.125%, 0.25% และ 0.50% ตามลำดับ โดยการเสริมเลซิตินและผงน้ำดีสุกรสิ้นสุดลงในวันที่ 21 เก็บข้อมูลน้ำหนักตัวและปริมาณอาหารที่กินในวันที่ 4, 7, 14 และ 21 ของการทดลอง สุ่มไก่กลุ่มละ 6 ตัว เก็บตัวอย่าง portal blood เพื่อวิเคราะห์หาองค์ประกอบของกรดไขมัน เก็บตับอ่อนเพื่อวัดระดับกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปส เก็บตัวอย่างน้ำดีและอาหารที่ย่อยในลำไส้เล็กส่วนกลาง เพื่อวัดความเข้มข้นของกรดน้ำดีรวมและเก็บอาหารที่ย่อยในลำไส้เล็กส่วนปลาย เพื่อหาค่าการย่อยได้ของไขมันและโปรตีน จากการศึกษาพบว่า กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสของไก่กลุ่มที่ 2 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 1 ทุกช่วง (P < 0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ 3, 4 และ 5 มีระดับสูงกว่ากลุ่มที่ 2 ทั้งในวันที่ 4 และ 7 เมื่อไก่เนื้ออายุ 14 วัน กลุ่มที่ 4 และ 5 ยังคงมีกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสสูงกว่ากลุ่มอื่น สอดคล้องกับความเข้มข้นของกรดน้ำดีรวมในน้ำดีของไก่ ในวันที่ 21 ทางเดินอาหารของไก่เริ่มพัฒนาเต็มที่ ผงน้ำดีสุกรที่ระดับ 0.125% ยังคงมีผลให้ความเข้มข้นของกรดน้ำดีรวมในน้ำดี และกิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสของไก่กลุ่มที่ 4 มีค่าสูงที่สุด (P < 0.05) ซึ่งเมื่อพิจารณาการย่อยได้ของไขมันและโปรตีนจะพบว่า ในช่วง 4 และ 7 วันแรก กลุ่มที่ 2, 3 และ 4 มีค่าการย่อยได้ของไขมันและโปรตีนสูงกว่ากลุ่มที่ 5 และ 6 (P < 0.05) อย่างไรก็ตามในวันที่ 14 และ 21 การย่อยได้ของไขมันและโปรตีนของไก่กลุ่มที่ 2 ลดลงชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น (P < 0.05) ในขณะที่กลุ่มที่ 4 และ 5 มีค่าการย่อยได้ของโปรตีนสูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 และการย่อยได้ของไขมันสูงกว่าทุกกลุ่มทดลอง (P < 0.05) จากการ วิเคราะห์องค์ประกอบของกรดไขมันในเลือดพบว่า ในวันที่ 4 กลุ่มที่ได้รับน้ำดี 0.125% และ 0.25% มีกรดไขมันอิ่มตัวรวมใน portal blood สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P < 0.05) แต่ในวันที่ 7, 14 และ 21 ของการทดลอง อัตราส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวต่อกรดไขมันอิ่มตัวของทุกกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) อย่างไรก็ตามผงน้ำดีสุกรไม่มีผลต่อปริมาณการกินอาหาร (P>0.05) สมรรถภาพการเจริญเติบโตในช่วง 37 วันของไก่ กลุ่มที่ 1 และ 2 ไม่แตกต่างกับกลุ่มอื่น (P > 0.05) อย่างไรก็ตามจากผลการทดลองครั้งนี้พบว่า การเสริมผงน้ำดีสุกรที่ระดับ 0.125% ในอาหารไขมันสูงมีผลช่วยปรับปรุงอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักในไก่เนื้อระยะเล็กให้ดีขึ้น (P < 0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า การเสริมผงน้ำดีสุกรที่ระดับ 0.125% ในอาหารไขมันสูงที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบเป็นแหล่งไขมัน ช่วยทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ไลเปสจากตับอ่อนสูงขึ้น เพิ่มความเข้มข้นของกรดน้ำดีรวมในน้ำดี ส่งผลให้การย่อยได้ของไขมันและโปรตีนสูงขึ้น การดูดซึมกรดไขมันอิ่มตัวสูงขึ้น ทำให้ไก่เนื้อระยะเล็กมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับไก่ที่ได้รับอาหารปกติ en
dc.description.abstractalternative The experiment was performed to study the effect of porcine bile powder on the digestibility of fat and protein, physiological changes of fat digestion and growth performance of starter broilers fed on high fat diet. Total of 1,110 male, Arbor Acres broiler chicks were randomly allocated into 6 treatment groups. The chicks were fed on corn-soybean meal basal diet with crude palm oil (CPO) inclusion for 37 days. In group 1 (T1), the basal diet was contained 3% CPO while the diet used in group 2 (T2) had 6% CPO (high fat diet). Chicks in group 3 (T3) were fed on group 2 diet supplemented with 0.5% soy lecithin. Groups 4-6 chicks (T4–T6) received group 2 diet supplemented with 0.125%, 0.25% และ 0.50% porcine bile powder, respectively. All supplemented substances were ceased at 21 days. On days 4, 7, 14 and 21 of the trial, portal blood was collected for fatty acid profiles, pancreas for pancreatic lipase activity, bile and jejunal contents for bile acid determination and ileal content for determining digestibility of fat and protein. The results showed that lipase activity of chicks in T2 was lower than T1 in all periods (P<0.05). On days 4 and 7, chicks in T3, T4 and T5 had significantly (P<0.05) higher lipase activities than T2. On day 14, lipase activity of T4 and T5 chicks were increased. On day 21, chicks received 0.125% bile powder had the highest total bile acid concentrations and lipase activity (P<0.05). For fat and protein digestibility at day 4 and 7, chicks in T2, T3 and T4 had significantly (P<0.05) higher fat and protein digestibility than T5 and T6. However, on days 14 and 21 of the trial, it was found that high fat diet (T2) decreased protein and fat digestibility compared to other groups (P<0.05). Chicks in T4 and T5 had significantly (P<0.05) higher protein digestibility than T2 and T3. Moreover, fat digestibility of T4 and T5 were still higher compared to other treatment groups (P<0.05). High fat diet supplemented with 0.125% and 0.25% bile powder had increased saturated fatty acid concentration in portal blood compared to other treatment groups. On day 4 (P<0.05). On days 7, 14 and 21 of the trial, unsaturated to saturated fatty acid ratio were not significantly different among treatment groups (P>0.05). However, the results demonstrated that porcine bile powder had no effect on feed intake (P>0.05). Growth performance determined at day 37 showed that chicks in T1 and T2 were not different (P>0.05) among groups. However, the low level of bile powder supplementation in high fat diet improved feed conversion ratio (P<0.05). In conclusion, 0.125% porcine bile powder supplemented in high fat diet increased pancreatic lipase activity and total bile acid concentrations in gall bladder, resulting in increased fat and protein ileal digestibility. An increase in saturated fatty acid absorption and improved growth performance were observed when compared to the control group. en
dc.format.extent 1403742 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ไก่ -- การเจริญเติบโต
dc.subject น้ำดี
dc.subject ลิปิด
dc.subject น้ำมันปาล์ม
dc.subject Chickens -- Growth
dc.subject Bile
dc.subject Lipids
dc.subject Palm oil
dc.title ผลการเสริมผงน้ำดีสุกรในอาหารที่มีไขมันสูงต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และสรีรวิทยาของการย่อยไขมันในไก่เนื้อระยะเล็ก en
dc.title.alternative Effect of porcine bile powder supplementation in high fat diet on growth performance and physiology of fat digestion in starter broilers en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สรีรวิทยาการสัตว์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kris.A@Chula.ac.th
dc.email.advisor Suwanna.Ki@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record