DSpace Repository

การศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของชุมชนเมืองภาคใต้

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
dc.contributor.author พงศ์พรรณวดี จินดา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคใต้)
dc.date.accessioned 2012-07-15T08:27:56Z
dc.date.available 2012-07-15T08:27:56Z
dc.date.issued 2529
dc.identifier.isbn 9745662755
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20906
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 en
dc.description.abstract เมื่อเป็นชุมชนศูนย์กลางที่ทำหน้าที่ให้บริการแก่พื้นที่โดยรอบ โดยเป็นที่ตั้งของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมด้านต่างๆ อย่างไรก็ตามชุมชนเมืองแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นขนาดหรือความสำคัญขึ้นอยู่กับหน้าที่ ขอบเขตการให้บริการ และระดับการพัฒนาที่เป็นมาในอดีตซึ่งสามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญ เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่และการพัฒนาของชุมชนในแต่ละระดับภูมิภาคได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีความมุงหมายที่จะจัดลำดับความสำคัญของชุมชนเมืองภาคใต้ ชุมชนเมืองในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะชุมชนในระดับเทศบาล จำนวน 25 แห่ง ประกอบด้วยเทศบาลเมือง 17 แห่ง และเทศบาลตำบล 8 แห่ง โดยพิจารณาจากตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาพื้นที่ทั้งในด้าน กายภาพ เศรษฐกิจ ประชากรและสังคม จำนวน 35 ตัวแปร การวิเคราะห์ได้นำวิธีการทางสถิติที่เรียกว่าวิธีวิเคราะห์ตัวประกอบ (Factor Analysis Method) มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่หาข้อสรุปและเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบ จากการศึกษาพบว่า ชุมชนเมืองในภาคใต้สามารถแบ่งได้ออกเป็น 4 กลุ่มตามลำดับความสำคัญคือ ชุมชนระดับที่ 1 ได้แก่ เทศบาลเมืองหาดใหญ่ เป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญสูงในทุกด้าน อาทิเป็นศูนย์กลางทางการค้า การบริหาร อุตสาหกรรม การศึกษา สาธารณสุข และการคมนาคมขนส่งของภาค ชุมชนระดับที่ 2 ได้แก่ เทศบาลเมืองภูเก็ต เทศบาลเมืองสุราษฏร์ธานี เทศบาลเมืองสงขลา เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช เทศบาลเมืองยะลา เทศบาลเมืองตรัง เป็นชุมชนที่มีความสำคัญในระดับอนุภาค ชุมชนระดับที่ 3 ได้แก่ เทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลเมืองชุมพร เทศบาลเมืองนราธิวาส เทศบาลเมืองพัทลุง เทศบาลตำบลปากแพรก เทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก และเทศบาลเมืองระนอง เป็นชุมชนที่มีความสำคัญในระดับจังหวัดและอำเภอ ชุมชนระดับที่ 4 ได้แก่ เทศบาลเมืองกระบี่ เทศบาลตำบลเบตง เทศบาลเมืองปากพนัง เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เทศบาลเมืองสตูล เทศบาลตำบลกันตัง เทศบาลเมืองพังงา เทศบาลเมืองบ้านนาสาร เทศบาลตำบลหลังสวน เทศบาลตำบลสะเดา และเทศบาลตำบลตะลุบัน เป็นศูนย์กลางชุมชนพื้นที่ชนบทโดยรอบ จากการวิเคราะห์พบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการจัดลำดับความสำคัญของชุมชนเมืองภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นตัวแปรด้านเศรษฐกิจ อาทิ จำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จำนวนโรงแรม จำนวนเงินทุนธุรกิจด้านนิติบุคคล จำนวนร้านค้า จำนวนธนาคาร รองลงมาจะเป็นตัวแปรด้านกายภาพ และตัวแปรด้านสังคม ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเรื่องเขตอิทธิพลของศูนย์กลางชุมชน ซึ่งพบว่า เทศบาลที่เป็นศูนย์กลางชุมชนคือ เทศบาลในลำดับที่ 1 และ 2 โดยมีเขตอิทธิพลครอบคลุมเทศบาลใกล้เคียงดังนี้ ศูนย์กลางชุมชนสุราษฎร์ธานี มีเขตอิทธิพลครอบคลุม เทศบาลตำบลบ้านนาสาร เทศบาลเมืองชุมพร และเทศบาลตำบลหลังสวน ศูนย์กลางชุมชนภูเก็ต มีเขตอิทธิพลครอบคลุม เทศบาลเมืองพังงา เทศบาลเมืองตะกั่วป่า เทศบาลเมืองกระบี่ และเทศบาลเมืองระนอง ศูนย์กลางชุมชนนครศรีธรรมราช มีเขตอิทธิพล เทศบาลเมืองปากพนัง และเทศบาลตำบลปากแพรก ศูนย์กลางชุมชนตรัง มีเขตอิทธิพลครอบคลุม เทศบาลตำบลกันตัง ศูนย์กลางชุมชนสงขลา – หาดใหญ่ มีเขตอิทธิพลครอบคลุม เทศบาลเมืองพัทลุง เทศบาลเมืองสตูล และเทศบาลเมืองสะเดา ศูนย์กลางชุมชนยะลา มีเขตอิทธิพลครอบคลุม เทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลตำบลตะลุบัน เทศบาลเมืองนราธิวาส เทศบาลตำบลสุไหงโก-ลก และเทศบาลตำบลเบตง จากการนำเขตอิทธิพลศูนย์กลางชุมชนและพื้นที่ใต้เขตอิทธิพลมาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนเมือง สามารถแบ่งกลุ่มตามหลักความสัมพันธ์ได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาคใต้ตอนบน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย ได้แก่ - กลุ่มชุมพร – หลังสวน – สุราษฎร์ธานี บ้านนาสาร – กลุ่มระนอง – พังงา – ตะกั่วป่า – กระบี่ – ภูเก็ต กลุ่มภาคใต้ตอนล่าง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ได้แก่ - กลุ่มสงขลา – หาดใหญ่- สะเดา – พัทลุง – สตูล – กลุ่มนครศรีธรรมราช – ปากพนัง – ปากแพรก – กลุ่มตรัง – กันตัง – กลุ่มปัตตานี – ตะลุบัน – ยะลา - -เบตง – นราธิวาส – สุไหงโกลก จากการศึกษาเพื่อหาขนาดของศูนย์กลางชุมชนที่เหมาะสมของภาค พบว่าเทศบาลในระดับที่ 1 และ 2 มีขนาดประชากรและค่าการพัฒนาใกล้เคียงกับชุมชนที่มีนาดที่เหมาะสม (Optimum Size City) ส่วนเทศบาลลำดับที่ 3 และ 4 มีขนาดประชากรและค่าการพัฒนาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และในการพิจารณาศักยภาพในการพัฒนาของพื้นที่จากตัวแปรด้านเกษตรกรรมและพื้นที่ชลประทาน พบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาปานกลางและสูงส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำด้านชายฝั่งตะวันออก ส่วนพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบแคบๆ ด้านชายฝั่งตะวันตก อย่างไรก็ตามพื้นที่ด้านนี้ยังมีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้อีก สรุปผลการศึกษา พบว่า เทศบาลที่มีความสำคัญมากที่สุดของภาคใต้คือเทศบาลเมืองหาดใหญ่ เทศบาลที่มีความสำคัญน้อยที่สุด คือ เทศบาลตำบลตะลุบัน เทศบาลในภาคใต้นอกจากจะมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลาง การปกครองของจังหวัดและอำเภอแล้ว ยังทำหน้าที่ให้บริการด้านการค้า การบริการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการแก่พื้นที่โดยรอบ ระดับการให้บริการจะแตกต่างกันไปตามลำดับความสำคัญ และพบว่า ตัวแปรด้านเศรษฐกิจ เป็นตัวแปรที่มีความสำคัญมากที่สุด
dc.description.abstractalternative An Urban area is a central place giving services to a nearly provinces and a location of the economic activities and industries. However, those centres are different according to their functions and. hinterlands. They can be ranked into orders so that their roles in the region can be assigned. This thesis is aimed to rank the hierarchy of the existing situation of the municipalities area in the Southern region. In this case, municipalities mean "Thedsaban". There are 25 municipalities with 2 levels, namely, 17 Thedsaban Muangs, 8 Thedsaban Tambons. The study is using physical features, economic features and population and social features totally 35 variables. The collected data however, are so complicated and numerous that it is difficult to concentrate the problem scope. In order to conduct an analysis for the purpose of planning, a statistical method, the Factor Analysis Method, is applied to the spatial development planning. This will lead to a systematic municipalities development planning. According to the study. The Southern communities can be divided into 4 groups, by significant ranking, as follows: First-ranked Community such as Thedsaban-muang Ha-ad yai which is a center of high significance: regional centers of trade, services, industries, accadamy, public health, and transport communi¬cations. Second-ranked community such as Thedsaban-muang Phuket, Thedsaban-muang Surat-Thani, Thedsaban-muang Songkhla, Thedsaban-muang Nakhon Sithamarat, Thedsaban-muang Yala, and Thedsaban-muang Trang. These areas are of sectoral significance. Third-ranked community such as Thedsaban-muang Pattani, Thedsaban-muang Chumphon, Thedsaban-muang NarathiWat, Thedsaban-muang Pattalung, Thedsaban-tambon Pakprak, Thedsaban-tambon Su-ngai kolok, and Thedsaban-muang Ranong. These areas are of provincial and amphoe significance. Fourth-ranked community such as Thedsaban-muang Krabi, Thedsaban-tambon Betong, Thedsaban-muang Pakpanang, Thedsaban-muang Takuapa, Thedsaban-muang Satun, Thedsaban-tambon Kantang, Thedsaban¬muang Phangnga, Thedsaban-tambon Ban-na-san, Thedsaban-tambon Langsuan, Thedsaban-tambon Sadao, and Thedsaban-tambon Taluban. These areas are community centers of adjacent rural, areas. According to the analysis, significant variables of the Southern urban communities' significant rankings are economic variables, such as numbers of industrial factories, numbers of hotels, amounts of capital of partnership companies, numbers of stores, and numbers of banking. The subordinate variables are physical and social variables respectively. Besides, the thesis has studied the influence of the community centers. It is found that Thedsaban which are community centers are first-ranked Thedsaban and second-ranked Thedsaban which cover the adjacent Thedsaban. The community center of Suratthani covers Thedsaban Bannasan, Thedsaban-muang Chumphon, and Thedsaban Tambon Langsuan. The community center of Phuket covers Thedsaban-muang Phangnga, Thedsaban-muang Takuapa, Thedsaban-muang Krabi, and Thedsaban-muang Ranong. The community center of Nakhonsithamarat covers Thedsaban¬muang Pakpanang, Thedsaban-tambon Pakprak. The community center of Trang covers Thedsaban Kantang. The community center of Song-kla Haad-Yai covers Thedsaban¬muang Pattalung, Thedsaban-tambon satun,and Thedsaban Sadao. The community center of Yala covers Thedsaban-muang Pattani, Thedsaban-tambon taluban, Thedsaban-muang Narathiwat, Thedsaban-tambon Su-ngai kolok and Thedsaban-tambon Betong, According to the areas of influences and the areas under influences, The relationships among these urban communities can be sumarized into 2 groups : The Upper South It can be divided into 2 sub-groups: 1. The group of Chumporn-Langsuan-Suratthani-Bannasan. 2. The group of Ranong-Phangnga-Takuapa-Krabi-Phuket. The Lower South It can be divided into 4 sub-groups: 1. The group of Songkhla-HaadYai-Sadao-Pattalung-Satun, 2. The group of Nakhonsithamarat-Pakpanang-Pakprak 3. The group of Trang-Kantang 4. The group of Pattani-Taluban, Yala-Betong-Narathiwat-Sungai kolok. According to the study of the appropriate sizes of the center communities, the first-ranked Thedsaban and the tecond-ranked Thedsabah¬have the population sizes and values of development close to the optimum size cities. Thedsaban 3 and 4 have too low population sizes and values of development. Furthermore, the study of development potential, by using agricultural and irrigational variables, finds that the areas which have high and medium potentials are located on the river basin of the east coast. The areas of low potential, on the other hand, are mostly located on narrow strip of the west coast. However, these areas have potentials for tourism and mining development. The result of the study found that the most important thesaban is The saban-muang Ha-ad Yai and the less important thedsaban is Tesaban-tambon Taluban. The roles of thedsaban in South Region are the administrative center as well as the center of trades, services, infrastructures and utilities. The level of services are base on the significant ranking. Besides it found that the most important variable is the economic variable.
dc.format.extent 707712 bytes
dc.format.extent 323812 bytes
dc.format.extent 819104 bytes
dc.format.extent 3792365 bytes
dc.format.extent 2178498 bytes
dc.format.extent 848453 bytes
dc.format.extent 3299826 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เมือง -- ไทย (ภาคใต้) -- การเจริญเติบโต en
dc.subject เทศบาล en
dc.subject ย่านกลาง -- ไทย (ภาคใต้) en
dc.subject การวางแผนภาค -- ไทย (ภาคใต้) en
dc.subject ไทย (ภาคใต้) -- ภาวะเศรษฐกิจ en
dc.title การศึกษาเพื่อจัดลำดับความสำคัญของชุมชนเมืองภาคใต้ en
dc.title.alternative The urban hierarchy of the municipal areas in the Southern Region en
dc.type Thesis es
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การวางแผนภาค es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sakchai.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record