DSpace Repository

ประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบญธรรม

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัฐสุดา เต้พันธ์
dc.contributor.advisor วัชรี ทรัพย์มี
dc.contributor.author นิศากร ปงรังษี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2012-07-16T09:39:30Z
dc.date.available 2012-07-16T09:39:30Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20937
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract ศึกษาประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา มีผู้ให้ข้อมูลคือ มารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมจำนวน 6 ราย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าประสบการณ์ด้านจิตใจ แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น คือ 1) สิ่งที่โน้มนำไปสู่การตัดสินใจยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม : ผู้ให้ข้อมูลรับรู้ว่าตนเองไม่มีความสามารถในการเลี้ยงดูบุตร มีความเชื่อว่าการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมเป็นการมอบสิ่งที่ดีแก่บุตร และได้รับความช่วยเหลือและข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งความช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้ให้ข้อมูลตัดสินใจยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม 2) ความรู้สึกภายหลังจากการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม : ผู้ให้ข้อมูลเกิดความความรู้สึกเจ็บปวดเสียใจจากการสูญเสียบุตร ความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ ความรู้สึกผิดที่ไม่สามารถทำหน้าที่มารดาได้ดีเพียงพอ และความรู้สึกอยากให้บุตรเข้าใจ 3) การจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น : ผู้ให้ข้อมูลจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายหลังจากการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม โดยการคิดหาเหตุผลปลอบใจตนเอง การมีความหวังว่าจะได้พบกับบุตร การทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเขียนจดหมายหาบุตร สิ่งที่ช่วยให้ผู้ให้ข้อมูลสามารถจัดการกับความรู้สึกที่เกิดขึ้น ได้แก่ การที่ผู้ให้ข้อมูลได้รับรู้ความเป็นอยู่ของบุตร และการได้รับกำลังใจจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิ 4) การเรียนรู้จากการยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม : การยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมทำให้ผู้ให้ข้อมูลเรียนรู้บทเรียนชีวิต และเรียนรู้ที่ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบัน ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทาง ในการทำความเข้าใจประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม และให้นักจิตวิทยาการปรึกษาได้มีส่วนช่วยเหลือทางด้านจิตใจ แก่มารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรม en
dc.description.abstractalternative This study was a phenomenological research aimed to examine the psychological experiences of mothers who relinquished their children for adoption. Data were collected via in-depth interview with six birthmothers. Psychological experiences of the key informants could be categorized into 4 themes as follow: 1) Factors lead to relinquishing decision : perceiving inability to take care of the child, believing adoption could provide a better life for the child, and receiving support and information about helping organization. 2) After relinquishment feelings : suffering, mourning, guilt, and desire to be accepted by the child. 3) Coping with after relinquishment feelings : using rational support, having hope to meet the child, having activities such writing letters, getting information about the child and receiving support from helping organization. 4) Lesson learned: the life lesson and being present. The research finding could be applied to better understand the psychological experience of mothers who relinquish their children and allow counseling psychologist to support for the relinquishing mothers en
dc.format.extent 5487417 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.409
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การรับเป็นบุตรบุญธรรม en
dc.subject มารดาและบุตร en
dc.subject มารดา -- สุขภาพจิต en
dc.subject ปรากฏการณ์วิทยา en
dc.title ประสบการณ์ด้านจิตใจของมารดาที่ยกบุตรให้เป็นบุตรบญธรรม en
dc.title.alternative Psychological experiences of relinquishing mothers en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Wacharee.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.409


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record