Abstract:
ระบบตลาดอัตตาภิบาลในยุคเสรีนิยมใหม่ได้ผูกขาดองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร ในรูปของระบบทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อแปรเปลี่ยนองค์ความรู้และทรัพยากรธรรมชาติให้ กลายเป็นสินค้าอุปโลกน์ใหม่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และบริษัท ยาข้ามชาติ ได้ร่วมกันผลักดันให้ประเทศต่างๆทั่วโลกพัฒนาระบบสิทธิบัตรภายในประเทศ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ด้านการค้ากับสหรัฐฯ สำหรับประเทศไทย กลไกนี้ส่งผลให้รัฐไทย มีพระราชบัญญัติสิทธิบัตรที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ยาก่อนเวลา อันสมควร ด้วยการผลักดันของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนข้าราชการกระแสเก่าในกระทรวงสาธารณสุข ผลของการ คุ้มครองผลิตภัณฑ์ยาทำให้พัฒนาอุตสาหกรรมทางยาของไทยต้องหยุดชะงัก สวัสดิการ สาธารณสุขได้รับผลกระทบ และผู้ป่วยเรื้อรังต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ปรากฏการณ์นี้ได้ กระตุ้นให้เกิดพลังอัตพิทักษ์ซึ่งเป็นพลังสังคมที่ไม่พอใจกับการเข้ามาผูกขาดสิทธิบัตรยา พวกเขาได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการทำงานของระบบตลาดและเพื่อแสวงหาทางเลือกใน การเข้าถึงยา พลังอัตพิทักษ์ที่สำคัญได้แก่ กลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าในกระทรวง สาธารณสุข กลุ่มแพทย์ชนบทและเภสัชชนบท กลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มประชาสังคม กลุ่ม เหล่านี้เห็นพ้องกันว่า การเข้าถึงยาเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ผลของการเคลื่อนไหว ทำให้มีการออกกฎหมายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันเป็นพื้นฐานหลักของการ ออกมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในช่วงปีพ.ศ.2549-2551 มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ยาจึงไม่ใช่ผลของการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 หรือการดำรงตำแหน่งของ นายแพทย์มงคล ณ สงขลาเป็นหลัก แต่ถือเป็นกระบวนการที่พลังอัตพิทักษ์ทำหน้าที่ตอบ โต้แรงกดดันและผลกระทบจากการผูกขาดสิทธิบัตรยาของพลังตลาดอัตตาภิบาล