DSpace Repository

เศรษฐกิจการเมืองของนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา: ศึกษากรณีการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.advisor อนุสรณ์ ลิ่มมณี
dc.contributor.author จักรี ไชยพินิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-08-02T15:03:30Z
dc.date.available 2012-08-02T15:03:30Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21290
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract ระบบตลาดอัตตาภิบาลในยุคเสรีนิยมใหม่ได้ผูกขาดองค์ความรู้และข้อมูลข่าวสาร ในรูปของระบบทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อแปรเปลี่ยนองค์ความรู้และทรัพยากรธรรมชาติให้ กลายเป็นสินค้าอุปโลกน์ใหม่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ และบริษัท ยาข้ามชาติ ได้ร่วมกันผลักดันให้ประเทศต่างๆทั่วโลกพัฒนาระบบสิทธิบัตรภายในประเทศ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ด้านการค้ากับสหรัฐฯ สำหรับประเทศไทย กลไกนี้ส่งผลให้รัฐไทย มีพระราชบัญญัติสิทธิบัตรที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ยาก่อนเวลา อันสมควร ด้วยการผลักดันของสมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนข้าราชการกระแสเก่าในกระทรวงสาธารณสุข ผลของการ คุ้มครองผลิตภัณฑ์ยาทำให้พัฒนาอุตสาหกรรมทางยาของไทยต้องหยุดชะงัก สวัสดิการ สาธารณสุขได้รับผลกระทบ และผู้ป่วยเรื้อรังต้องเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ปรากฏการณ์นี้ได้ กระตุ้นให้เกิดพลังอัตพิทักษ์ซึ่งเป็นพลังสังคมที่ไม่พอใจกับการเข้ามาผูกขาดสิทธิบัตรยา พวกเขาได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านการทำงานของระบบตลาดและเพื่อแสวงหาทางเลือกใน การเข้าถึงยา พลังอัตพิทักษ์ที่สำคัญได้แก่ กลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าในกระทรวง สาธารณสุข กลุ่มแพทย์ชนบทและเภสัชชนบท กลุ่มผู้ป่วย และกลุ่มประชาสังคม กลุ่ม เหล่านี้เห็นพ้องกันว่า การเข้าถึงยาเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ผลของการเคลื่อนไหว ทำให้มีการออกกฎหมายระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อันเป็นพื้นฐานหลักของการ ออกมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรในช่วงปีพ.ศ.2549-2551 มาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร ยาจึงไม่ใช่ผลของการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ.2549 หรือการดำรงตำแหน่งของ นายแพทย์มงคล ณ สงขลาเป็นหลัก แต่ถือเป็นกระบวนการที่พลังอัตพิทักษ์ทำหน้าที่ตอบ โต้แรงกดดันและผลกระทบจากการผูกขาดสิทธิบัตรยาของพลังตลาดอัตตาภิบาล en
dc.description.abstractalternative The neoliberal self-regulating market has monopolized knowledge and information in forms of intellectual property rights, in which knowledge and natural resources have been commoditized into the new fictitious commodities. In this process, the United States, the leading industrial countries, and pharmaceutical corporate have jointly pressured countries around the world to develop their domestic patent system in exchange with the US trade preferences. For Thailand, the Thai state has been forced to enact the stringent patent acts, especially the protection of medicine products before a suitable time, supported by the Pharmaceutical Research and Manufacturers Association, Department of Intellectual Property, Ministry of Commerce, and status-quo doctors. Consequently, the product protection led to the cessation of pharmaceutical R&D in Thailand, the collapse of healthcare welfare, and the obstruction to access medicines. These dislocations prompted the self-protecting forces consisting of progressive-minded doctors in Ministry of Public Health, rural doctor forum and rural pharmacist forum, patients, NGOs, and academics. They collectively join to oppose the market orbit and to seek alternatives on accessing medicines. As a result, they have mobilized an enactment of the healthcare coverage act providing a basis for the issuance of compulsory licensing in Thailand during 2006-2008. Rather than an impact of the Sep 19 coup, it is thus best described that Thailand’s compulsory licensing shines the successful movement of self-protectionism to counter with dislocations caused by drug patents. en
dc.format.extent 3754528 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.522
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สิทธิบัตรยา en
dc.subject อุตสาหกรรมยา -- ไทย en
dc.subject ทรัพย์สินทางปัญญา -- ไทย en
dc.subject ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ en
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en
dc.title เศรษฐกิจการเมืองของนโยบายทรัพย์สินทางปัญญา: ศึกษากรณีการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยาในประเทศไทย en
dc.title.alternative The political economy of the intellectual property rights policy : a case study of compulsory licensing in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Amara.P@chula.ac.th
dc.email.advisor Anusorn.L@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.522


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record