Abstract:
งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ในตัวแบบโลจิท ตัวแบบโพรบิท และตัวแบบคอมพลีเมนทารี ล็อก-ล็อก วิธีการประมาณค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ วิธีกำลังสองน้อยสุดแบบถ่วงน้ำหนัก (WLS), วิธีภาวะน่าจะเป็นสูงสุด (MLE) และวิธีไคกำลังสองต่ำสุด (MCS) โดยที่ตัวแปรตอบสนอง ทั้ง 3 วิธี เป็นตัวแปรเชิงคุณภาพมี 2 ค่า คือ 0 หรือ 1 และตัวแปรอธิบาย (X) 1 ตัวแปร การเปรียบเทียบกระทำภายใต้ข้อมูลงานทดลองของ Draper (1972), Ashford (1970), Cornfield (1962), Martin (1942), Muhammad (1990), (Strand, 1930), Montgomery (1982), Clogg (1988) และ Haberman (1978) ตัวอย่างชุดที่1-3 เป็นข้อมูลทางด้านการแพทย์ ตัวอย่างชุดที่ 4-6 เป็นข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์ (ชีววิทยา) ตัวอย่างชุดที่ 7 เป็นข้อมูลทางดานวิศวกรรมศาสตร์ และตัวอย่างชุดที่ 8-9 เป็นข้อมูลทางด้านสังคมศาสตร์ วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล คือการประมาณค่าของตัวแบบโลจิท ตัวแบบโพรบิท และตัวแบบคอมพลีเมนทารี ล็อก-ล็อก ซึ่งใช้ตัวสถิติ Deiance เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ โดยใช้โปรแกรม R ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1. ตัวแบบโลจิทภายใต้วิธี MLE ให้ค่า Deviance น้อยสุด เป็นตัวแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลตัวอย่างชุดที่ 4 2. ตัวแบบโพรบิทภายใต้วิธี MLE ให้ค่า Deviance น้อยสุด เป็นตัวแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลตัวอย่าง ชุดที่ 2 ชุดที่ 5 และ ชุดที่ 9 3. ตัวแบบคอมพลีเมนทารี ล็อก-ล็อก ภายใต้วิธี MLE ให้ค่า Deviance น้อยสุด เป็นตัวแบบที่เหมาะสมกับข้อมูลตัวอย่างชุดที่ 3 และชุดที่ 7 4. สำหรับข้อมูลชุดที่ 1 ชุดที่ 6 และชุดที่ 8 ไม่มีตัวแบบใดเหมาะสมกับข้อมูล เพราะความน่าจะเป็นในการยอมรับตัวแบบน้อยกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 ในส่วนการพิจารณาการเลือกตัวแบบให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล 9 ชุด นั้นจะเห็นว่าขนาดของความแปรปรวนขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูล และความแตกต่างของค่าพารามิเตอร์ที่ประมาณได้จะขึ้นอยู่กับขนาดของ σ เท่านั้น ดังนั้น ตัวแปรอธิบายมีอิทธิพลต่อโอกาสความน่าจะเป็นของการเกิดสิ่งที่สนใย P(y=1) ซึ่งมีผลต่อการเลือกลิงค์ฟังก์ชัน