DSpace Repository

ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : การวิเคราะห์อภิมาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author วาสนา ธรรมสอน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-08-06T06:31:41Z
dc.date.available 2012-08-06T06:31:41Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21354
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract การวิเคราะห์อภิมานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวกับการปฏิบัติการพยาบาลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) เปรียบเทียบผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 3) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยศึกษาจากวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2528 – 2550 จำนวน 31 เรื่อง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัยและแบบประเมินคุณภาพงานวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.82 หาความเที่ยงโดยวิธีผู้ประเมินร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.86 นำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามวิธีของ Glass, McGaw, & Smith (1981) ได้ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 77 ค่า ผลการวิเคราะห์งานวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. งานวิจัยที่นำมาวิเคราะห์ ส่วนใหญ่เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต (83.87 %) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนเท่ากัน (22.58 %) จากคณะพยาบาลศาสตร์ (70.97 %) คุณภาพงานวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (61.30 %) พบว่า การปฏิบัติการพยาบาลด้านการรู้และความคิดถูกนำมาศึกษามากที่สุด (48.39 %) และด้านสังคมถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (16.13%) ส่วนผลลัพธ์ทางสุขภาพด้านอื่น ๆ ถูกนำมาศึกษามากที่สุด (43.14 %) และด้านอาการถูกนำมาศึกษาน้อยที่สุด (1.96 %) 2. ผลการเปรียบเทียบค่าขนาดอิทธิพล พบว่า ผลลัพธ์ด้านสุขภาพโดยรวมมีขนาดใหญ่ (d = 2.26) โดยด้านพฤติกรรมให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.79) และด้านจิตใจให้ค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = 1.71) ส่วนการปฏิบัติการพยาบาลแบบผสมผสานให้ค่าขนาดอิทธิพลสูงที่สุด (d = 2.53) และการปฏิบัติการพยาบาลด้านสังคมมีค่าขนาดอิทธิพลต่ำที่สุด (d = 1.52) 3. สถานที่เก็บข้อมูลและการระบุกรอบแนวคิดมีผลต่อความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล สามารถพยากรณ์ความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพล ได้ร้อยละ 30.00 en
dc.description.abstractalternative The purposes of this meta analysis were to study 1) Methodological and substantive characteristics of nursing interventions on health outcomes of family caregivers of head injury patients and stroke patients; 2) Compare the effectiveness of nursing interventions on health outcomes of family caregivers of head injury patients and stroke patients; and 3) Influences of methodological and substantive characteristics on the effect size. Total of 31 true and quasi – experimental studies in Thailand during 1985 – 2007 were included. Studies were analyzed for method of Glass, McGaw, and Smith (1981). This meta – analysis yielded 77 effect sizes. Results were as follows: 1. The majority of the study were Master theses (83.87%); from ChiangMai University and Mahidol University (22.58%); from faculty of nursing (70.97%). Most of instruments were tested for both reliability and validity (90.32%); decided in very good quality (61.30%). Most of nursing interventions were used was cognitive intervention (48.39%). Nursing interventions least used was social intervention (16.13%). Most of health outcomes used was other health outcome (43.14%). Health outcomes least used was symptom health outcome (1.96%). 2. Nursing interventions had the large effect–size on health outcomes (d = 2.26). Nursing interventions had the largest effect–size on behavior health outcome (d = 2.79), but had the lowest effect – size on psychological health outcome (d = 1.71). Combined intervention had the largest effect–size on health outcomes (d = 2.53). Social intervention had the lowest effect–size on health outcomes (d = 1.52). 3. The unit of setting and conceptual framework was the variable that significantly predicted effect – size at the level of .05. The predictive power was 30.00 % of the variance. en
dc.format.extent 1880539 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1073
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้ป่วย -- การดูแล en
dc.subject หลอดเลือดสมอง -- โรค en
dc.subject สมอง -- โรค en
dc.title ประสิทธิผลของการปฏิบัติการพยาบาลต่อผลลัพธ์ด้านสุขภาพของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยบาดเจ็บสมองและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง : การวิเคราะห์อภิมาน en
dc.title.alternative The effectiveness of nursing interventions on health outcomes in family caregivers of head injury and stroke patients : a meta-analysis en
dc.type Thesis es
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chanokporn.J@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1073


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record