DSpace Repository

การวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมรถกระบะในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor พงศา พรชัยวิเศษกุล
dc.contributor.author ณัฐ อมรภิญโญ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-08-10T14:09:40Z
dc.date.available 2012-08-10T14:09:40Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21366
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ (1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะโครงสร้างตลาดอุตสาหกรรมรถกระบะ โดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและวิเคราะห์โดยใช้ดัชนีวัดการกระจุกตัว (2) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการแข่งขันหรือปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตภายในอุตสาหกรรมรถกระบะภายในประเทศไทย ทำการวิเคราะห์เชิงพรรณนาและใช้แบบจำลองปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตภายในตลาดผู้ขายน้อยรายซึ่งเป็นแบบจำลองทางเศรษฐมิติ ข้อมูลในการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นทั้งอนุกรมเวลาและภาคตัดขวางในช่วงปี พ.ศ.2542 ถึง พ.ศ.2549 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมรถกระบะภายในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมแบบตลาดผู้ขายน้อยราย ผู้ผลิตแต่ละรายมีพฤติกรรมการแข่งขันทางด้านที่ไม่ใช้ราคามากกว่าพฤติกรรมการแข่งขันทางด้านราคา เช่น แข่งขันกันทางด้านสินค้า ทางด้านการโฆษณา ทางด้านจำนวนตัวแทนจำหน่าย และทางด้านการส่งออก การวิเคราะห์การกระจุกตัวพบว่า อุตสาหกรรมรถกระบะมีการกระจุกตัวค่อนข้างสูงและมีแนวโน้มที่จะกระจุกตัวสูงยิ่งขึ้นจากปี พ.ศ.2542 ถึง พ.ศ.2549 สังเกตได้จากค่าดัชนี CR, HHI และ CCI ทั้ง 3 ดัชนี ที่มีค่าสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ การวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบของผู้ผลิตภายในอุตสาหกรรม พบว่าอุตสาหกรรมรถกระบะในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมที่ประกอบไปด้วยกลุ่มผู้นำและกลุ่มผู้ตาม มีการแข่งขันที่รุนแรงภายในอุตสาหกรรม โดยที่ผู้ผลิตแต่ละรายจะไม่คำนึงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม แต่จะมีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มผู้นำด้วยกัน ซึ่งเป็นการแข่งขันที่รุนแรงมากกว่าการแข่งขันระหว่างกลุ่มผู้นำและกลุ่มผู้ตามภายในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ผู้ผลิตทุกรายภายในอุตสาหกรรมยังมีรูปแบบการรวมตัวกันอย่างเป็นนัยแฝงอยู่ โดยที่ผู้นำราคาเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในอุตสาหกรรม en
dc.description.abstractalternative The main objectives of this study are (1) to examine the market structure of Thai pick-up truck industry and (2) to analysis behavioral competitive or firm’s research within the industry. The market structure was examined by the descriptive analysis and the concentration index whereas the competitive nature of firm’s reaction was analyzed by the descriptive analysis and the econometric conjectural variation model. Results indicate that the market structure of Thai pick-up truck industry is oligopoly. Each firm prefers non price competition to price competition. The industry’s concentration, indicated by CR, HHI and CCI indexes, increases substantially from 1999 to 2006. The analysis of conjectural variations illustrates that the industry composed of the leader group and the follower group which have strong counter reaction. Each firm dose not concern about the conjectural variation from all other firms, but there is the competition within the leader group which is much stronger than the competition between the leader group and the follower group in the industry. In addition, every firm also exhibits a pattern of implicit collusion, price leaderships by dominant firm, which is concealed in this industry. en
dc.format.extent 1236079 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.923
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การวิเคราะห์ปัจจัยการผลิต en
dc.subject การแข่งขันทางการค้า en
dc.subject อุตสาหกรรมรถยนต์ en
dc.title การวิเคราะห์ปฏิกิริยาโต้ตอบระหว่างผู้ผลิตในอุตสาหกรรมรถกระบะในประเทศไทย en
dc.title.alternative The conjectural variation analysis of Thai pick-up truck industry en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Pongsa.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.923


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record