dc.contributor.advisor |
ปรารมภ์ ซาลิมี |
|
dc.contributor.author |
ธีรา ธรรมวาสี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-08-24T09:23:18Z |
|
dc.date.available |
2012-08-24T09:23:18Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21762 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยนี้เป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแข็งแรงดัดขวางสองแกนและลักษณะการแตกหักของเซอร์โคเนียเซรามิกชนิด Y-TZP ที่มีอัตราส่วนความหนาของชั้นคอร์และวีเนียร์แตกต่างกัน สร้างชิ้นตัวอย่างเซรามิกเป็นแผ่นกลม ให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15±0.5 มม. หนา 1.2 + -0.005 มม. จำนวน 50 ชิ้น โดยได้รับการขึ้นรูปตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต แบ่งชิ้นตัวอย่างเป็น 5 กลุ่ม ๆ ละ 10 ชิ้น ตามอัตราส่วนความหนาของชั้นคอร์ต่อชั้นวีเนียร์ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 = 1: 0 (คอร์เซอร์โคเนียทั้งชิ้น) กลุ่มที่ 2 = 2: 1 (ชั้นคอร์หนา 0.8 มม.) กลุ่มที่ 3 = 1: 1 (ชั้นคอร์หนา 0.6 มม.) กลุ่มที่ 4 = 1: 2 (ชั้นคอร์หนา 0.4 มม.) และกลุ่มที่ 5 = 0: 1 (วีเนียร์พอร์ซเลนทั้งชิ้น) นำชิ้นตัวอย่างทั้งหมดมาทดสอบโดยวิธี Piston on three ball ตามมาตรฐาน ISO 6872 ปี 1995 โดยใช้เครื่อง Instron 5566 ที่ความเร็วหัวกด 1 มม. ต่อนาที และคำนวณหาค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกน ผลการทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงดัดขวางสองแกนและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของแต่ละกลุ่มมีดังนี้ กลุ่มที่ 1 = 921.48 + - 106.86 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 2 = 1009.49 + - 98.72 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 3 = 895.68 + - 92.96 เมกะพาสคัล กลุ่มที่ 4 = 768.08 + - 73.17 เมกะพาสคัล และกลุ่มที่ 5 = 70.49 + - 8.54 เมกะพาสคัล ทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยการทดสอบความเท่ากันของค่าเฉลี่ยโรบัสแล้วทำการเปรียบเทียบเชิงซ้อนแบบแทมเฮนพบว่า กลุ่มที่ 1-3 มีค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ (p>0.05) แต่มีความแตกกันกับกลุ่มที่ 4 และกลุ่มที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และกลุ่มที่ 5 มีค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกนต่ำกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากงานวิจัยนี้สรุปได้ว่า เมื่อความหนารวมของชิ้นตัวอย่างเป็น 1.2 มิลลิเมตร อัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ 1: 0, 2: 1 และ 1: 1 ให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกนไม่แตกต่างกัน แต่เมื่ออัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ลดลงเป็น 1: 2 ทำให้ค่าความแข็งแรงดัดขวางสองแกนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และพบการแตกระหว่างชั้นในกลุ่มที่ประกอบด้วยชั้นคอร์และชั้นวีเนียร์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this study was to investigate the biaxial flexural strength (BFS) and mode of fracture of zirconia-based ceramic (Cercon[Registered sign]) with different thickness of core: veneer ratio. Fifty specimens, 15 + - 0.5 mm. in diameter and 1.2 + - 0.005 mm. in thickness, were fabricated following manufacturer's recommendations. The specimens were prepared and divided into 5 groups of 10 specimens as follows: group 1 were made of core material alone (1:0 in C: V ratio), group 2-4 were made of core-veneer composites by group 2 in ratio 2:1 (core thickness = 0.8 mm.), group 3 in ratio 1: 1 (core thickness = 0.8 mm.), group 4 in ratio 1: 2 (core thickness = 0.8 mm.) and group 5 were made of veneer porcelain material alone (0: 1 in C: V ratio). All specimens were subjected to Piston on three ball test following ISO 6872: 1995 and calculated the BFS. All tests were carried out on the Instron 5566 with crosshead speed of 1.0 mm/ min. The means BFS + - SD of each groups were 921.48 + - 106.86 MPa for Group 1, 1009.49 + -98.72 MPa for Group 2, 895.68 + - 92.96 MPa for Group 3, 768.08 + - 73.17 MPa for Group 4, 70.49 + - 8.54 MPa for Group 5. Data were analyzed by using a Robust tests of equality of means and Tamhane multiple comparison. There was no statistically significant difference among the BFS of group 1, group 2 and group 3 (P>0.05) but the BFS of these groups was statistically significantly higher than the BFS of group 4 and group 5 (P<0.05). The BFS of group 5 was statistically significantly lower than other groups (P<0.05). The present study concluded that in case of specimen with 1.2 mm. thickness, in thickness of core and veneer ratio 1: 0, 2: 1 and 1: 1 were not affected the BFS, but decreasing in thickness of core and veneer ratio to 1: 2, the BFS of Cercon[Registered sign] were statistically significantly decreased. Fracture at core-veneer interface can observed in all core-veneer composite specimens. |
en |
dc.format.extent |
1863482 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.529 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
เซอร์โคเนียมออกไซด์ |
en |
dc.title |
ความแข็งแรงดัดขวางสองแกนของวัสดุเซรามิกชนิดเซอร์โคเนียที่อัตราส่วนคอร์ต่อวีเนียร์ต่างกัน |
en |
dc.title.alternative |
Biaxial flexural strength of zirconia-based ceramic with differences in core : veneer ratio |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Prarom.S@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.529 |
|