Abstract:
การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงอธิบายเป็นลำดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเครียดในงาน การเผชิญปัญหา และความเหนื่อยหน่ายในงานของผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาปากเกร็ด (บ้านเฟื่องฟ้า) สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา(หญิง) สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา(ชาย) และสถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพ (บ้านนนทภูมิ) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 172 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเครียดในงาน แบบวัดการเผชิญปัญหา แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน และชุดคำถามสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า1) ความเครียดในงานมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหามีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการประสบความสำเร็จส่วนตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่น 4) การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับทั้งความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็มีสหสัมพันธ์ทางลบกับความสำเร็จส่วนตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ความเครียดในงานและการเผชิญปัญหา สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ได้ร้อยละ 25 ด้านการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่นได้ร้อยละ 9 และทำนายความสำเร็จส่วนตนได้ร้อยละ 19 สาขาวิชา จิตวิทยาการปรึกษาลายมือชื่อนิสิต ปีการศึกษา 2554ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ในส่วนของผลการวิจัยเชิงคุณภาพ สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่า ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลมีความเครียดในการทำงานด้านความวิตกกังวล โดยมีความเครียดอันเนื่องมาจากความไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ปริมาณของงานที่มากเกินไป ปัญหากับผู้ร่วมงาน การที่หน่วยงานไม่สนับสนุน และความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในที่ทำงาน อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือสามารถเผชิญกับความเครียดในการทำงานได้ด้วยการยอมรับปัญหา การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม การมุ่งจัดการที่สาเหตุของปัญหา และการใช้แนวคิดทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นอกจากนี้งานของสถานสงเคราะห์ยังก่อให้เกิดปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือยังคงทำงานต่อไปได้คือ ความผูกพันกับองค์กรและผู้รับบริการ ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และความรู้สึกมีคุณค่า ด้วยปัจจัยเหล่านี่ทำให้ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือมีกำลังใจสามารถเผชิญกับความเครียดและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่เกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน