dc.contributor.advisor | อรัญญา ตุ้ยคำภีร์ | |
dc.contributor.advisor | สุภาพรรณ โคตรจรัส | |
dc.contributor.author | ปรารถนา เล็กสมบูรณ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | |
dc.date.accessioned | 2012-08-26T02:09:59Z | |
dc.date.available | 2012-08-26T02:09:59Z | |
dc.date.issued | 2554 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21785 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธีเชิงอธิบายเป็นลำดับ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความเครียดในงาน การเผชิญปัญหา และความเหนื่อยหน่ายในงานของผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพญาไท สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญาปากเกร็ด (บ้านเฟื่องฟ้า) สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา(หญิง) สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา(ชาย) และสถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพ (บ้านนนทภูมิ) ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจำนวน 172 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเครียดในงาน แบบวัดการเผชิญปัญหา แบบวัดความเหนื่อยหน่ายในงาน และชุดคำถามสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า1) ความเครียดในงานมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความเหนื่อยหน่ายในงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการปัญหามีสหสัมพันธ์ทางบวกกับการประสบความสำเร็จส่วนตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) การเผชิญปัญหาแบบการแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่น 4) การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับทั้งความอ่อนล้าทางอารมณ์และการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่น ในขณะเดียวกันก็มีสหสัมพันธ์ทางลบกับความสำเร็จส่วนตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) ความเครียดในงานและการเผชิญปัญหา สามารถร่วมกันทำนายความเหนื่อยหน่ายในงานด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ได้ร้อยละ 25 ด้านการลดความเป็นมนุษย์ในผู้อื่นได้ร้อยละ 9 และทำนายความสำเร็จส่วนตนได้ร้อยละ 19 สาขาวิชา จิตวิทยาการปรึกษาลายมือชื่อนิสิต ปีการศึกษา 2554ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ลายมือชื่อ อ.ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม ในส่วนของผลการวิจัยเชิงคุณภาพ สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่า ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาลมีความเครียดในการทำงานด้านความวิตกกังวล โดยมีความเครียดอันเนื่องมาจากความไม่ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ปริมาณของงานที่มากเกินไป ปัญหากับผู้ร่วมงาน การที่หน่วยงานไม่สนับสนุน และความเสี่ยงต่อความปลอดภัยในที่ทำงาน อย่างไรก็ตามผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือสามารถเผชิญกับความเครียดในการทำงานได้ด้วยการยอมรับปัญหา การแสวงหาการสนับสนุนทางสังคม การมุ่งจัดการที่สาเหตุของปัญหา และการใช้แนวคิดทางพุทธศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ นอกจากนี้งานของสถานสงเคราะห์ยังก่อให้เกิดปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือยังคงทำงานต่อไปได้คือ ความผูกพันกับองค์กรและผู้รับบริการ ความพึงพอใจในชีวิตความเป็นอยู่ และความรู้สึกมีคุณค่า ด้วยปัจจัยเหล่านี่ทำให้ผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือมีกำลังใจสามารถเผชิญกับความเครียดและสามารถทำงานต่อไปได้โดยไม่เกิดความเหนื่อยหน่ายในงาน | en |
dc.description.abstractalternative | This study using a sequential explanatory mixed methods research design aimed to examine relationship between job stress, coping, and burnout among helping practitioners in public welfare centers. Participants were helping practitioners in Phayathai Babies’ Home, Home for Disabled Babies (Bann Fuengfah), Home for Female Mentally and Handicapped (Bann Rachawadeeying), Home for Mentally and Handicapped (Bann Rachawadee) and Home for Children with Disabilities (Bann Nontapum): 172 helping practitioners completed questionnaires and 10 helping practitioners were interviewed. The instruments were Job Stress Scale, Coping Scale, Maslach Burnout Inventory, and an interview protocol. Findings were as follows 1) Job stress was positively correlated with emotional exhaustion and depersonalization. 2) Problem focused coping was positively correlated with personal accomplishment. 3) Seeking social support was positively correlated with emotional exhaustion and depersonalization. 4) Avoidant was positively correlated with emotional exhaustion and depersonalization and negatively correlated with personal accomplishment. 5) Job stress and coping predicted emotional exhaustion, depersonalization and personal accomplishment at 25, 9 and 19 percent respectively 6) Findings from qualitative analysis supported the quantitative finding that helping practitioners in public welfare centers experienced stress at work a lack of work promotion, overwhelming amount of work, problems with colleagues, non- supportive organizational climate and workplace safety risks. However, helping practitioners can deal with the stress of working by acceptance, seeking social support, solving causes of the problems, and applying The Buddhist concept. In addition, the organizational commitment and practitioner-client relationship, sufficiency orientation, and self-esteem are factors that keep practitioners from turn over. In summary, these factors encourage helping practitioners to deal with stress and to continue working without burnout | en |
dc.format.extent | 3467137 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.480 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การบริหารความเครียด | en |
dc.subject | ความเครียดในการทำงาน | en |
dc.subject | ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) | en |
dc.title | ความเครียดในงาน การเผชิญปัญหา และความเหนื่อยหน่ายในงานของผู้ปฏิบัติการช่วยเหลือในสถานสงเคราะห์ของรัฐบาล : การวิจัยแบบผสานวิธี | en |
dc.title.alternative | Job stress, coping, and burnout among helping practitioners in public welfare centers : a mixed methods research | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | จิตวิทยาการปรึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | arunya.t@chula.ac.th | |
dc.email.advisor | ksupapun@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.480 |