Abstract:
ในการวิจัยนี้ใช้ผักตบชวาและชานอ้อยเป็นสารแลกเปลี่ยนไอออน ชนิดของโลหะหนักที่ทำการศึกษา ได้แก่ ทองแดง นิกเกิลและสังกะสี การทดลองที่ใช้ เป็นแบบคอลัมน์ที่มีชั้นความสูงของเรซิน 20 เซนติเมตร น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งมีค่าพีเอชประมาณ 5.0 และมีความเข้มข้นของโลหะหนัก 5,10, 20, 50 มิลลิกรัม/ลิตร ไหลผ่านชั้นเรซินด้วยอัตราไหล 3 ปริมาตรเรซิน/ชั่วโมง ตัวแปรที่ศึกษาได้แก่ กระบวนการทางเคมีที่ใช้ปรับสภาพผักตบชวาและชานอ้อย และความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำเสีย ผลการทดลองพบว่า ความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออนของผักตบชวาที่ไม่ปรับสภาพมีค่าสูงที่สุดอยู่ในช่วง 0.686-0.809 มิลลิอิควิวาเลนท์/กรัม ส่วนผักตบชวาที่ปรับสภาพแบบคาร์บอกซี่เม็ททีลซัลโฟเอทีลและครอสส์ลิงค์แซนเทตมีค่าอยู่ในช่วง 0.330-0.496 มิลลิอิควิวาเลนท์ 0.233-0.503 มิลลิอควิวาเลนท์/กรัม และ 0.279-0.595 มิลลิอิควาเลนท์/กรัม ตามลำดับ สำหรับชานอ้อยที่ไม่ได้ปรับสภาพความสามารถในการแลกเปลี่ยนไอออน มีค่าอยู่ในช่วง 0.065-0.086 มิลลิอิควาเวนท์/กรัม และชานอ้อยที่ปรับสภาพแบบคาร์บอกซี่เม็ททิล มีค่าอยู่ในช่วง 0.052-0.069 มิลลิอิควิวาเลนท์/กรัม ผลจากการวิจัยพบว่าการปรับสภาพโดยวิธีทางเคมีทั้ง 3 วิธี ทำให้ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนไอออนของผักตบชวาและชานอ้อยลดลง สำหรับอิทธิพลของความเข้มข้นของโลหะหนักในน้ำเสีย พบว่าความสามารถในแลกเปลี่ยนไอออนเพิ่มขึ้น เมื่อน้ำเสียมีความเข้มข้นของโลหะหนักน้อยละ สำหรับการรีเจนเนอเรชันใช้สารรีเจนเนอแรนต์แต่ละชนิด เข้มข้น 0.5 นอร์มอล ประมาณ 2-3 ปริมาตรเรซิน