DSpace Repository

การนำเหตุหลุดพ้นความรับผิดโดยเคร่งครัดของผู้ประกอบการยามาใช้ในกฎหมายไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศักดา ธนิตกุล
dc.contributor.author ภัทราพรรณ เชื้อจินดา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-02T11:12:05Z
dc.date.available 2012-11-02T11:12:05Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23046
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ได้มีการนำเอาหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้เพื่อกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการกรณีที่ผู้เสียหายได้รับอันตรายจากสินค้า เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถได้รับการเยียวยาโดยไม่จำต้องพิสูจน์ให้เห็นถึงความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบรรดาผู้ประกอบการ จากการศึกษาพบว่า ยาและวัคซีนก็เป็นสินค้าที่อยู่ภายใต้การบังคับใช้ของพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยาและวัคซีนเป็นสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากสินค้าประเภทอื่นๆ เนื่องจาก ยานอกจากเป็นสินค้าที่เป็นปัจจัยสำตัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แล้ว ยายังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอันตรายอยู่ในตัวเอง ซึ่งไม่สามารถที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้สินค้าได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจาก อันตรายที่เกิดจากการใช้ยานั้น อาจเกิดได้หลายปัจจัยไม่ว่าจะเกิดจากตัวยานั้นเอง ปัจจัยที่เกิดจากตัวผู้ใช้สินค้า หรือแม้กระทั่งปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการจะได้ใช้ความรู้ความสามารถทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในการผลิตสินค้าขึ้น แต่อันตรายที่เกิดจากยานั้นก็ไม่อาจที่จะขจัดให้หมดไปได้ นอกจากนั้น ยายังเป็นสินค้าที่กระบวนการในการจัดจำหน่ายที่มีความพิเศษ เนื่องจาก จำเป็นต้องมีคนกลางที่มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์ประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะสามารถเข้าถึงยาได้ ดังนั้น การที่พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีบทบัญญัติที่ให้ผู้ประกอบการสินค้ายามีความรับผิดโดยเคร่งครัดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคในทุกกรณีนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาในอนาคตได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเพื่อหาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ความรับผิดของผู้ประกอบการนั้นมีความยืดหยุ่นต่อลักษณะพิเศษของอุตสาหกรรมยา โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการบังคับใช้กฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น นอกจากนั้น ผู้วิจัยจะศึกษาถึงแนวทางการเยียวยาผู้ได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ของยาที่เหมาะสมต่อไป en
dc.description.abstractalternative The Product Liability Act B.E. 2551 adopted the strict liability doctrine to hold entrepreneurs liable to the injured persons for damages caused by unsafe products to provide consumers a right to compensation without necessity to prove willfulness or negligence of the entrepreneurs. According to the study of this thesis, drugs and vaccines also fall within the definition of “Product” under this Act. Their characteristics, however, are different from the other categories of product because, firstly, drugs are one of the four requisites for livelihood. Secondly, drugs, due to their inherent dangers, cannot be made perfectly safe since dangers can be caused by various factors including, the drugs themselves, consumers, or even environmental factors. Pharmaceutical manufacturers, then, despite having used all available knowledge in the manufacturing of their products, could not remove all dangers arising from the use of drugs. Thirdly, the distribution of drugs contain a special method that is via the learnt intermediaries, medical professionals, who posses knowledge required to weigh the potential harms and benefits before prescribing any drug to a particular patient. Therefore, the Act’s strict liability doctrine may negatively affect Thai pharmaceutical industry in the future. Hence, the author would like to seek for an approach to modify the Act in order to make the liability of pharmaceutical manufacturers more appropriate and flexible for the specific nature of the pharmaceutical industry. The thesis will compare the enforcement approaches of the American, European Union and Japanese product liability laws but will mainly focus on the American approach due to its long history of development of the law. Furthermore, the thesis will concentrate on an appropriate compensation approach for the injured persons from drug side effects and adverse effects in Thailand. en
dc.format.extent 2619567 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.981
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความรับผิดของผู้ผลิต -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject ความรับผิดของผู้ผลิต -- ยา -- ไทย en
dc.subject การคุ้มครองผู้บริโภค -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en
dc.subject พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 en
dc.title การนำเหตุหลุดพ้นความรับผิดโดยเคร่งครัดของผู้ประกอบการยามาใช้ในกฎหมายไทย en
dc.title.alternative The adoption of the strict liability exception of phamarceutical manufacturers in Thai law en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sakda.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.981


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record