Abstract:
สำรวจพฤติกรรมการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาไทยโดยศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสถานภาพส่วนบุคคล สถานภาพทางสังคม ความรู้และทัศนคติทางการเมืองกับการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งจำแนก เป็น 5กลุ่มของกิจกรรม ได้แก่ การประท้วง การมีบทบาทในชุมชน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การสื่อข่าวทางการเมืองและการลงคะแนนเสียง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล คำถามวัดความรู้ด้านการเมือง แบบสำรวจทัศนคติทางการเมืองแบบ Likert และระดับความมาก-น้อย ในการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2519 และ 2520 ที่เลือกโดยวิธีสุ่มแบบมีระบบ (Systematic System) จำนวน 701 คน ข้อมูลนำเสนอ เป็นร้อยละ การหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ไค-สแคว์ (Chi Square) และหาความ เข้มข้นของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรโดยใช้ Cramer's V ในการวิ เคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การศึกษาวิจัย ปรากฏผลดังนี้ 1. นักศึกษาชาย เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าหญิงในทุกกลุ่มกิจกรรม (P = .10) 2. นักศึกษาที่มีอายุมาก เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยในกิจกรรม การประท้วงและการลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 3 กลุ่มกิจกรรมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญใน ระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.10) 3. นักศึกษาสมัครเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2519 มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่า นักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2520 ในด้านการประท้วงและการลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 3 กลุ่มของกิจกรรมไม่มีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P = .10) 4. นักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาเดิมสายอาชีพมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่านักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาเดิมสายสามัญในกิจกรรมด้านการประท้วง การมีบทบาทในชุมซน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรคและการสื่อข่าวทางการเมือง ส่วนกิจกรรมการลงคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.00) 5. นักศึกษาที่บิดาประกอบอาชีพรับราชการ มีส่วนเข้าร่วมทางการเมืองน้อยกว่ากลุ่มที่มีบิดาประกอบอาชีพอื่นๆ ในกิจกรรมด้านการประท้วงและการมีบทบาทในชุมชน ส่วนกิจกรรมอีก 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.02) 6. นักศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เข้าร่วมในทางการ เมืองมากกว่าผู้มีค่าใช้จ่ายต่ำในกิจกรรม การประท้วง การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรคและการสื่อข่าวทางการเมือง ส่วนกิจกรรมอีก 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.10) 7. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตัวแปรด้านการมีที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัดกับการเข้าร่วมในกิจกรรมการเมืองทุกประเภท 8. นักศึกษาที่มีความรู้ทางการเมืองระดับสูงเข้าร่วมในทางการเมืองมากกว่านักศึกษาที่มีความรู้ทางการเมืองระดับต่ำในกลุ่มของกิจกรรมด้านการมีบทบาทในชุมชน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การสื่อข่าวทางการเมืองและการลงคะแนนเสียง ส่วนกิจกรรมด้านการประท้วง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา 9. นักศึกษาที่มีระดับความสำนึกทางการเมืองสูงเข้าร่วมในทางการเมืองมากกว่ากลุ่มที่มีความสำนึกทางการเมืองต่ำในกิจกรรมด้านการประท้วง การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 2 กลุ่มกิจกรรมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.03) การศึกษาหาความเข้มข้นของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสถานภาพส่วนบุคคล สถานภาพทางสังคม ความรู้และทัศนคติทางการเมืองกับกิจกรรมทั้ง 5 กลุ่มของการเข้าส่วนร่วมทางการเมืองเกือบทั้งหมดพบความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (V= 0.00-0.25) ยกเว้นในกิจกรรมด้านการลงคะแนนเสียงกับตัวแปร เรื่องอายุมีความเข้มข้นของความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (V = 0.57)