Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23654
Title: การเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: The political participation of Thai students : a case study of the third year and fourth year students, Faculty of Political Science, Ramkhamhaeng University
Authors: มานะศรี ยงเจริญ
Advisors: ปรีชา หงษ์ไกรเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. คณะรัฐศาสตร์ -- นักศึกษา
นักศึกษา -- กิจกรรมทางการเมือง -- ไทย
Ramkhamhaeng University. Faculty of Political Science -- Students
Students -- Political activity -- Thailand
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำรวจพฤติกรรมการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาไทยโดยศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสถานภาพส่วนบุคคล สถานภาพทางสังคม ความรู้และทัศนคติทางการเมืองกับการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งจำแนก เป็น 5กลุ่มของกิจกรรม ได้แก่ การประท้วง การมีบทบาทในชุมชน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การสื่อข่าวทางการเมืองและการลงคะแนนเสียง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามซึ่งสร้างโดยผู้วิจัยประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล คำถามวัดความรู้ด้านการเมือง แบบสำรวจทัศนคติทางการเมืองแบบ Likert และระดับความมาก-น้อย ในการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเมือง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2519 และ 2520 ที่เลือกโดยวิธีสุ่มแบบมีระบบ (Systematic System) จำนวน 701 คน ข้อมูลนำเสนอ เป็นร้อยละ การหาความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยใช้ไค-สแคว์ (Chi Square) และหาความ เข้มข้นของความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรโดยใช้ Cramer's V ในการวิ เคราะห์ข้อมูลทางสถิติ การศึกษาวิจัย ปรากฏผลดังนี้ 1. นักศึกษาชาย เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่าหญิงในทุกกลุ่มกิจกรรม (P = .10) 2. นักศึกษาที่มีอายุมาก เข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่ากลุ่มที่มีอายุน้อยในกิจกรรม การประท้วงและการลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 3 กลุ่มกิจกรรมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญใน ระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.10) 3. นักศึกษาสมัครเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2519 มีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่า นักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2520 ในด้านการประท้วงและการลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 3 กลุ่มของกิจกรรมไม่มีแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P = .10) 4. นักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาเดิมสายอาชีพมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่านักศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาเดิมสายสามัญในกิจกรรมด้านการประท้วง การมีบทบาทในชุมซน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรคและการสื่อข่าวทางการเมือง ส่วนกิจกรรมการลงคะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.00) 5. นักศึกษาที่บิดาประกอบอาชีพรับราชการ มีส่วนเข้าร่วมทางการเมืองน้อยกว่ากลุ่มที่มีบิดาประกอบอาชีพอื่นๆ ในกิจกรรมด้านการประท้วงและการมีบทบาทในชุมชน ส่วนกิจกรรมอีก 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.02) 6. นักศึกษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เข้าร่วมในทางการ เมืองมากกว่าผู้มีค่าใช้จ่ายต่ำในกิจกรรม การประท้วง การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรคและการสื่อข่าวทางการเมือง ส่วนกิจกรรมอีก 2 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.10) 7. ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างตัวแปรด้านการมีที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครหรือต่างจังหวัดกับการเข้าร่วมในกิจกรรมการเมืองทุกประเภท 8. นักศึกษาที่มีความรู้ทางการเมืองระดับสูงเข้าร่วมในทางการเมืองมากกว่านักศึกษาที่มีความรู้ทางการเมืองระดับต่ำในกลุ่มของกิจกรรมด้านการมีบทบาทในชุมชน การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การสื่อข่าวทางการเมืองและการลงคะแนนเสียง ส่วนกิจกรรมด้านการประท้วง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา 9. นักศึกษาที่มีระดับความสำนึกทางการเมืองสูงเข้าร่วมในทางการเมืองมากกว่ากลุ่มที่มีความสำนึกทางการเมืองต่ำในกิจกรรมด้านการประท้วง การรณรงค์หาเสียงและทำงานให้พรรค การลงคะแนนเสียง ส่วนอีก 2 กลุ่มกิจกรรมไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มนักศึกษา (P =.03) การศึกษาหาความเข้มข้นของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านสถานภาพส่วนบุคคล สถานภาพทางสังคม ความรู้และทัศนคติทางการเมืองกับกิจกรรมทั้ง 5 กลุ่มของการเข้าส่วนร่วมทางการเมืองเกือบทั้งหมดพบความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (V= 0.00-0.25) ยกเว้นในกิจกรรมด้านการลงคะแนนเสียงกับตัวแปร เรื่องอายุมีความเข้มข้นของความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูง (V = 0.57)
Other Abstract: To survey political participation among Thai university students. The strength of association among the variables of social position, political knowledge, political consciousness and degrees of political participation were explored. Theoretically, political participation may be classified into five groups of activity, namely, protestors, community activists, party and campaign workers, communicators and voters as suggested by Milbrath. The method used in the study is the questionnaire consisting of demographic data, a multiple-choice test of political knowledge, political consciousness in Likert's scale type and the degree of political participation. The samples of 701 students were randomized from the group of students in the Political Science Faculty, Ramkhamhaeng University. Data analysis was presented in the number of percent Chi Square and Cramer’s V Values. The results of this study are as follows: 1. Male students participate' in political activities of all groups more than female students. (P = .10) 2. The older students participate in protest and voting more than the younger group. There is no statistical significant difference in the group of community activists, party and campaign workers and communicators. (P = .00) 3. The students enrolled, in the academic year of 1976 participate in protest and voting more than the students enrolled in the academic year of 19 77. There is no statistical significant difference in the other there groups of political participation. (P = .10,) 4. Students with educational background in various occupations participate in protest, community activities, political communication, political campaign and party working more than those with general education background. There is no statistical significant difference in the voting activity. 5. The groups of father's occupation in civil officer participate in protest and community activities less than the group of father's other occupation. There is no statistical difference in the other three-group of activities. (P = .02) 6. Students with high economic status participate in protest, political campaign and party working and political communication more than those of low economic status. (P = . 10) 7. There is no statistical significant difference between the groups of various place of residence in all groups of political activities. 8. Students with high scores in political knowledge participate in community activities, political campaign and party working, political communication and voting more than that of low-score students. There is no statistical significantly difference in protest. (P = .05) 9. Students with high scores in political consciousness participate in protest, political campaign and party working, and voting more than those with low-score. There is no statistical significant difference in community activities and political communication. (P = .03) The strength of association between demographic, social position variables, political knowledge, participation attitudes and the five-group of political participation are low in almost values (V = 0.00-0.25) except one in the voting and age variable, the strength of association is found at the rather high level. (V = 0.57).
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23654
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manasri_Yo_front.pdf702.12 kBAdobe PDFView/Open
Manasri_Yo_ch1.pdf978.66 kBAdobe PDFView/Open
Manasri_Yo_ch2.pdf4.57 MBAdobe PDFView/Open
Manasri_Yo_ch3.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open
Manasri_Yo_ch4.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Manasri_Yo_back.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.