DSpace Repository

ประมาทในทางละเมิด

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุธรรม ภัทราคม
dc.contributor.author มัทยา จารุพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2012-11-13T15:35:17Z
dc.date.available 2012-11-13T15:35:17Z
dc.date.issued 2518
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24000
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ในบทที่ 1 กล่าวถึงความหมายของคำว่า ประมาทในทางละเมิด ที่ใช้ในกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ รวมทั้งประวัติความเป็นมาของคำว่า ประมาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการกระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของความรับผิดในทางละเมิด บทที่ 2 เป็นการกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของประมวลกฎหมายอาญาและ ประมวลกฎหมายเพ่งและพาณิชย์ซึ่งแตกต่างกัน อันมีผลให้การวินิจฉัยความผิดซึ่งเกิดจากการกระทำโดยประมาทในทางละเมิดต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมายตามกฎหมายอาญาด้วย บทที่ 3 ก็คือบ่อเกิดของการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งอาจเกิดจากหน้าที่และความสัมพันธ์ของมนุษย์ เพราะการอยู่รวมกันเป็นสังคม ความพลั้งพลาด เผอเรออาจเกิดขึ้นได้ง่าย สำหรับความประมาทอันเกิดจากหน้าที่จะต้องปรากฏว่า เป็นการฝ่าฝืนหน้าที่อันพึงต้องใช้ความระมัดระวังตามกฎหมาย และเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ส่วนความประมาทอันเกิดจากความสัมพันธ์อาจเกิดจากสัญญา ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์ในกรณีอื่น ๆ เช่นครูกับศิษย์ หรือความสัมพันธ์ ระหว่างเจ้าของทรัพย์ต่อบุคคลอื่น เช่น เจ้าของโรงเรือน เจ้าของสัตว์ หรือผู้ควบคุมครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น บทที่ 4 เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานแห่งความประมาท ซึ่งได้แก่มาตรฐานแห่งความประพฤติ ตลอดจนขีดคั่นแห่งการใช้ความระมัดระวัง การป้องกันซึ่งผู้กระทำอาจยกเป็นข้อต่อสู้ เพื่อปฏิเสธความรับผิดอันเกิดจากการกระทำโดยประมาทของตนได้ บทที่ 5 กล่าวถึงเกณฑ์ตัดสินและคำพิพากษาของศาล สำหรับการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งศาลมีหน้าที่ต้องวินิจฉัยว่า การกระทำอย่างใดจึงถือว่าผู้กระทำได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อ และความประมาทเลินเล่อนั้นเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายหรือไม่ ตลอดจนความยินยอมของผู้เสียหายเป็นแนวทางในการตัดสินและสำหรับผลแห่งการพิจารณาพิพากษาคดีในคดีก่อนๆโดยปกติ ย่อมถือเป็นบรรทัดฐานในคดีต่อๆมา เว้นแต่คดีที่มีบทข้อสันนิษฐานของกฎหมายศาลอเมริกามักไม่ถือผลแห่งการพิจารณาเป็นสำคัญ บทที่ 6 เป็นบทสรุปและข้อเสนอแนะ ซึ่งเป็นการสรุปการค้นคว้าทั้งหมดที่ได้รวบรวมมาจากตำรากฎหมายทั้งของไทยและต่างประเทศและได้เปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างการกระทำโดยประมาทตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศพร้อมทั้งเสนอแนะให้เพิ่มบทวิเคราะห์ศัพท์ความหมายของคำว่า ประมาทในทางละเมิด คำนิยามของคำว่า วิญญูชน ไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และควรแก้ไขในเรื่องความรับผิดของผู้เยาว์กับผู้วิกลจริตในกรณีที่เข้าได้กระทำโดยละเมิดเสียใหม่
dc.description.abstractalternative In this thesis, Chapter 1 refers to the meaning of the term negligence in the law of Torts which is used in Thai and foreign laws and the origin of the term negligence which indicates that one of the essential causes of liability for a wrongful act is to do an act negligently. Chapter 2 refers to the different objectives of the Criminal Code and the Civil and Commercial Code, which, in considering a liability for committing a wrongful act by negligence, the objectives of criminal law must be taken into account. Chapter 3 refers to the causes of a wrongful act done by negligence which may occur from the exercise of one's duty or from the relationship between persons because, in living together in society, one may easily exercise his duty negligently. In the case where negligence is caused by the exercise of duty, he shall be liable for his act only when he did it negligently and inconsistent with the law and his act has caused damage to any person. Negligence may arise from the relationship between the parties of a contract, the rela¬tionship in a family, relationship in other cases e.g., teacher and students or the relationship between owners of property and other person e.g., the owner of a building or animal or a person in charge of a vehicle, etc. Chapter 4 refers to the standard of negligence which, is considered from the standard of behavior as well as the degree of case and protection which the doer may set up to defend himself. Chapter 5 indicates the criteria of the court's judgment and decision. To consider whether an act is done by negligence and whether such negligence is contributed by a fault of both parties to the case or not is the duty of the court and the consent of an injured person shall also be taken into consideration. The result of the previous judgments shall usually be deemed as a guideline for the following judgments. In the case where there is a presumption of law, the court in the U.S.A. shall not follow the previous judgment. Chapter 6 is the conclusion and recommendation, which is the summary from both Thai and foreign laws. In this chapter, there is a comparison of an act done by negligence under Thai law and foreign laws. The writer also recommends the addition of the definitions of negligence in the law of Torts and the reasonable man to the Civil and Commercial Code as well as the modification of the liability for wrongful act done by negligence of a minor or an insane person.
dc.format.extent 602777 bytes
dc.format.extent 1324908 bytes
dc.format.extent 799049 bytes
dc.format.extent 1988552 bytes
dc.format.extent 2729913 bytes
dc.format.extent 1845492 bytes
dc.format.extent 994215 bytes
dc.format.extent 311866 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความประมาทเลินเล่อ
dc.subject ละเมิด
dc.subject Negligence
dc.subject Torts
dc.title ประมาทในทางละเมิด en
dc.title.alternative Negligence in the law of torts en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record