DSpace Repository

การกระทำความผิดและการประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานพลเรือน : ศึกษากรณีอำนาจผู้ควบคุมอากาศยาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุผานิต เกิดสมเกียรติ
dc.contributor.author มธุศร เลิศพานิช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-20T10:29:35Z
dc.date.available 2012-11-20T10:29:35Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741714254
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24783
dc.description วิทยานิพนธ์(น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำบนอากาศยาน ค.ศ. 1963 หรืออนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ. 1963 ได้กำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานเป็นบุคคลผู้มีอำนาจในการคุ้มครองความปลอดภัยของอากาศยาน หรือของบุคคล หรือทรัพย์สินบนอากาศยาน รวมถึงการรักษาระเบียบและวินัยอันดีบนอากาศยาน เนื่องจากในขณะที่อากาศยานกำลังบินอยู่นั้น รัฐมีข้อจำกัดในการใช้อำนาจรัฐเพื่อคุ้มครองและป้องกันการกระทำความผิดที่อาจเกิดขึ้นบนอากาศยาน ประกอบกับทำให้เกิดความยากลำบากแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการที่จะเข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำความผิดได้อย่างทันท่วงที อนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ. 1963 นี้ ได้กำหนดให้อำนาจแก่ผู้ควบคุมอากาศยานในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดและผู้ที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานไว้ 6 ประการ คือ อำนาจในการดำเนินมาตรการอันสมควร, อำนาจในการสั่งให้ลูกเรือให้การช่วยเหลือ, อำนาจในการขอร้องให้ผู้โดยสารให้การช่วยเหลือ, อำนาจในการมอบอำนาจแก่ลูกเรือหรือผู้โดยสาร, อำนาจในการให้ผู้กระทำความผิดลงจาก อากาศยาน และอำนาจส่งตัวผู้กระทำความผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐ จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติในอนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ. 1963 ขาดความชัดเจน ทำให้ผู้ควบคุมอากาศยานนำบทบัญญัติเหล่านี้ไปปรับใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการขาดคำนิยามของลักษณะการกระทำความผิดและการฝ่าฝืนระเบียบวินัยอันดีบนอากาศยานหรือที่เรียกว่าการประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยาน ซึ่งนำไปสู่ความลังเลใจในการใช้อำนาจของผู้ควบคุมอากาศยาน อีกทั้งบทบัญญัติบางข้อยังกำหนดให้ผู้ควบคุมอากาศยานเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในการใช้อำนาจ ซึ่งหากผู้ควบคุมอากาศยานใช้อำนาจโดยไม่เป็นไปตามที่อนุสัญญากำหนด ผู้ควบคุมอากาศยานจะต้องรับผิดในการใช้อำนาจของตน นอกจากนี้ในอนุสัญญากรุงโตเกียวยังขาดคำนิยามของคำว่าผู้ควบคุมอากาศยานหมายถึงบุคคลใด หรือควรจะมีคุณสมบัติเช่นใด ซึ่งปัญหาต่าง ๆ ข้างต้นนี้ ผู้เขียนวิทยานิพนธ์ได้สรุปผลการวิจัยและเสนอแนะแนวทางที่ควรจะเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางแก้ไขในส่วนของประเทศไทยด้วย
dc.description.abstractalternative The Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on Board Aircraft 1963 or Tokyo Convention 1963 has provided that the aircraft commander is responsible to protect the safety of the aircraft, or of persons or property therein, including maintain good order discipline on board. While the aircraft is in flight, State is confined to exercising its jurisdiction so as to protect and prevent from offences committed on board. Moreover, the competent authorities have considerable difficulties enforcing offender in time. The Tokyo Convention 1963 has provided the aircraft commander with six powers as follows: (1) power to impose responsible measure (2) power to require assistance from crew members (3) power to request assistance from passengers (4) power to authorize action (5) power to disembark en route and (6) power to deliver to competent authorities. From the research, it is clearly found that the provisions of the aforesaid Convention is lack of obviousness and it leads to obstacles of the practical application, in particular the definitions of the nature of the offences committed on board and the breach of the good order and discipline on board, or so-called unruly passenger. For this reason, the aircraft commander often hesitates to exercise his powers. Furthermore, certain provisions provide that the aircraft commander has his own discretion in exercising the powers; however, if the exercise of the powers is not subject to the Convention, he shall be responsible for such exercise. Besides, owing to the absence of the definition of the aircraft commander, there are the questions whether who the aircraft commander is and what its qualifications are. The author has summarized and recommended some possible resolutions with regard to problems on both International and Thai Law.
dc.format.extent 4634161 bytes
dc.format.extent 3941680 bytes
dc.format.extent 38065485 bytes
dc.format.extent 29243816 bytes
dc.format.extent 30424846 bytes
dc.format.extent 6130544 bytes
dc.format.extent 18507610 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การกระทำความผิดและการประพฤติตนไม่เหมาะสมบนอากาศยานพลเรือน : ศึกษากรณีอำนาจผู้ควบคุมอากาศยาน en
dc.title.alternative Offences committed on board civil aircraft and unruly passengers : power of aircraft commander en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record