Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการควบกิจการธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศ ไทย โดยพิจารณาทั้งผลประโยชน์ของผู้ผลิต และผลกระทบต่อผู้บริโภค อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ของรัฐบาลในการกำกับดูแลการควบกิจการ วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผลประโยชน์ผู้ผลิต ได้แก่ การวิเคราะห์ผลได้จากการควบกิจการผ่าน การประเมินมูลค่ากิจการด้วยวิธีส่วนลดกระแสเงินสด แล้วพิจารณาประโยชน์จากการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ ของผู้ผลิต ส่วนผลกระทบของผู้บริโภค ได้แก่ การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงหลังการควบกิจการ ในปัจจัยที่ผู้ชมให้ความสำคัญในการไปชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ รวมทั้งสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ปัจจัยที่ผู้ชมภาพยนตร์ให้ความสำคัญได้จากการออกแบบสอบถามผู้ชมโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นจำนวน 130 ตัวอย่างแล้วพิจารณาการเปลี่ยนแปลงด้วยการสอบถามความเห็นผู้ชมทั้งที่ ยังคงใช้บริการอยู่และเลิกใช้บริการไปแล้วหลังการควบกิจการ ผลการศึกษา พบว่า หลังควบกิจการบริษัทสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เกิดการประหยัดจาก ขนาด ทำให้สามารถมีระยะเวลาการฉายภาพยนตร์ได้นานขึ้น และมีจำนวนภาพยนตร์เข้าฉายเพิ่มขึ้น ส่วนผลการ วิเคราะห์ผลได้จากการควบกิจการ พบว่า การควบกิจการทำให้เมเจอร์ฯ มีมูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 18,995 ล้านบาท จากเดิม 1 1,207 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7,788 ล้านบาท ขณะที่มูลค่ากิจการของอีจีวีฯ มีมูลค่า 4,096 ล้านบาท คิด เป็นผลได้หลังจากการควบกิจการ เท่ากับ 3,692 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น พบว่า มูลค่า กิจการต่อหุ้นสามัญของเมเจอร์ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 26.84 บาทต่อหุ้น จากเดิม 22.03 บาทต่อหุ้น หรือมีมูลค่ากิจการต่อ หุ้นสามัญเพิ่มขึ้น 4.81 บาทต่อหุ้น เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเช่นกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อ ผู้บริโภค พบว่า หลังจากการควบกิจการ ผลดีต่อผู้บริโภค คือการบริหารรอบฉายที่สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้ชมมากขึ้น ทำให้ภาพยนตร์มีรอบฉายนานขึ้น และมีจำนวนภาพยนตร์ให้เลือกชมมากขึ้น ขณะที่ผลกระทบ ที่ทำให้ผู้ชมส่วนหนึ่งเลิกใช้บริการหลังควบกิจการ พบในช่วงรอยต่อระหว่างปรับปรุงกิจการ ได้แก่ ระบบการจองตั๋วที่ขัดข้อง และการแจ้งรอบฉายที่ผิดพลาด ส่วนพฤติกรรมการเอาเปรียบผู้ชมที่น่าสงสัย ได้แก่ การตัด ภาพยนตร์ทั้งที่เก็บเต็มราคา หรือการพยายามบีบบังคับให้ผู้ชมสมัครใช้บริการเสริม ซึ่งต้องเสียค่าสมัคร แต่ทั้งนี้ การเอาเปรียบยังไม่ชัดเจนนัก เพราะไม่ได้เกิดขึ้นทุกสาขา หรือเกิดกับภาพยนตร์ทุกเรื่อง แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณ จากบริษัทในการใช้อำนาจตลาดของตนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรมี มาตรการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาการเอาเปรียบของบริษัทต่อไป