DSpace Repository

ผลกระทบของการควบกิจการธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุฑา มนัสไพบูลย์
dc.contributor.author บวรวิทย์ ทองด้วง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-21T04:42:51Z
dc.date.available 2012-11-21T04:42:51Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9745312274
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24861
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการควบกิจการธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศ ไทย โดยพิจารณาทั้งผลประโยชน์ของผู้ผลิต และผลกระทบต่อผู้บริโภค อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ของรัฐบาลในการกำกับดูแลการควบกิจการ วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ผลประโยชน์ผู้ผลิต ได้แก่ การวิเคราะห์ผลได้จากการควบกิจการผ่าน การประเมินมูลค่ากิจการด้วยวิธีส่วนลดกระแสเงินสด แล้วพิจารณาประโยชน์จากการปรับปรุงโครงสร้างกิจการ ของผู้ผลิต ส่วนผลกระทบของผู้บริโภค ได้แก่ การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงหลังการควบกิจการ ในปัจจัยที่ผู้ชมให้ความสำคัญในการไปชมภาพยนตร์ที่โรงภาพยนตร์ รวมทั้งสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่น่าสนใจ ทั้งนี้ปัจจัยที่ผู้ชมภาพยนตร์ให้ความสำคัญได้จากการออกแบบสอบถามผู้ชมโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็นจำนวน 130 ตัวอย่างแล้วพิจารณาการเปลี่ยนแปลงด้วยการสอบถามความเห็นผู้ชมทั้งที่ ยังคงใช้บริการอยู่และเลิกใช้บริการไปแล้วหลังการควบกิจการ ผลการศึกษา พบว่า หลังควบกิจการบริษัทสามารถลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ เกิดการประหยัดจาก ขนาด ทำให้สามารถมีระยะเวลาการฉายภาพยนตร์ได้นานขึ้น และมีจำนวนภาพยนตร์เข้าฉายเพิ่มขึ้น ส่วนผลการ วิเคราะห์ผลได้จากการควบกิจการ พบว่า การควบกิจการทำให้เมเจอร์ฯ มีมูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 18,995 ล้านบาท จากเดิม 1 1,207 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7,788 ล้านบาท ขณะที่มูลค่ากิจการของอีจีวีฯ มีมูลค่า 4,096 ล้านบาท คิด เป็นผลได้หลังจากการควบกิจการ เท่ากับ 3,692 ล้านบาท และเมื่อพิจารณาผลกระทบต่อผู้ถือหุ้น พบว่า มูลค่า กิจการต่อหุ้นสามัญของเมเจอร์ฯ เพิ่มขึ้นเป็น 26.84 บาทต่อหุ้น จากเดิม 22.03 บาทต่อหุ้น หรือมีมูลค่ากิจการต่อ หุ้นสามัญเพิ่มขึ้น 4.81 บาทต่อหุ้น เป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้นของบริษัทเช่นกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อ ผู้บริโภค พบว่า หลังจากการควบกิจการ ผลดีต่อผู้บริโภค คือการบริหารรอบฉายที่สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้ชมมากขึ้น ทำให้ภาพยนตร์มีรอบฉายนานขึ้น และมีจำนวนภาพยนตร์ให้เลือกชมมากขึ้น ขณะที่ผลกระทบ ที่ทำให้ผู้ชมส่วนหนึ่งเลิกใช้บริการหลังควบกิจการ พบในช่วงรอยต่อระหว่างปรับปรุงกิจการ ได้แก่ ระบบการจองตั๋วที่ขัดข้อง และการแจ้งรอบฉายที่ผิดพลาด ส่วนพฤติกรรมการเอาเปรียบผู้ชมที่น่าสงสัย ได้แก่ การตัด ภาพยนตร์ทั้งที่เก็บเต็มราคา หรือการพยายามบีบบังคับให้ผู้ชมสมัครใช้บริการเสริม ซึ่งต้องเสียค่าสมัคร แต่ทั้งนี้ การเอาเปรียบยังไม่ชัดเจนนัก เพราะไม่ได้เกิดขึ้นทุกสาขา หรือเกิดกับภาพยนตร์ทุกเรื่อง แต่ก็เริ่มเห็นสัญญาณ จากบริษัทในการใช้อำนาจตลาดของตนที่อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ซึ่งเป็นประเด็นที่รัฐบาลควรมี มาตรการติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันปัญหาการเอาเปรียบของบริษัทต่อไป
dc.description.abstractalternative This study aims to analyze the effect of horizontal merger in cinema business in Thailand by taking into account the producer’s benefit (advantage) as well as the impact on consumers. As a result, we can acquire some policy suggestions to enable the government to regulate the business merger. The methodology composes of two parts, firstly, to examine the effect on the producers. To do this we deliberately examine the benefit from the merger through the discounted cash flow which reflects the business value assessment. In addition, we consider the advantage from the business restructuring. Secondly, to evaluate the effect on consumers, this is focused on the changing consumer satisfaction after the merger, together with using the questionnaire to capture other interesting points. In accordingly, the 130 questionnaires are conducted, regardless of probability, compared the opinions of both former and current customers, after the business merger. The result of this study states that the producer can potentially cut the operational costs, to meet the economy of scale, since they can extend the period of show time of each movie and increase the numbers of the films showing. For the benefit the producers gain after the merger, it is found that Major Cineplex expands its company value from 11,207 million baht to 18,995 million baht or accounted to 7,788 million baht increase. EGV’s company valued at 4,096 million baht, therefore the total gain from the merger is 3,692 million baht. The benefit of the stockholders is reflected by the increasing company value per common stock from 22.03 baht per stock to 26.84 baht, accounted to 4.81 baht increase. Looking at the consumers’ side, after the merger, consumers can manage their time since there are more flexible show times, each movie stays longer, and the numbers of movies increase. However, there are some customers stop using the companies’ services. According to the questionnaire, during the transition period of merger, the customers found difficulty due to the ineffective ticket booking system and inappropriate information. Moreover, there is some suspicious on consumers’ exploitation, such as, less film showing than advertising, or forcing consumers to pay extra services. Nevertheless, these are no obvious evidences since they did not occurred in all branches and in all movies. However, it is an advantageous to be aware of the potential of the companies to exert their market power which directly affects the consumer. In order to prevent the occurrence of such things, the government should closely monitor the companies after the merger.
dc.format.extent 3098918 bytes
dc.format.extent 2268484 bytes
dc.format.extent 12871489 bytes
dc.format.extent 5384417 bytes
dc.format.extent 8763513 bytes
dc.format.extent 8316249 bytes
dc.format.extent 4658089 bytes
dc.format.extent 4925244 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ผลกระทบของการควบกิจการธุรกิจโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย en
dc.title.alternative The effect of horizontal merger on cinema business in thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record