DSpace Repository

การประเมินผลการเปิดให้บริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการของสถานีอนามัยในจังหวัดสุพรรณบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภิรมย์ กมลรัตนกุล
dc.contributor.advisor จิรุฒม์ ศรีรัตนบัลก์
dc.contributor.author สุกิจ ทองพิลา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทย์ศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-23T02:07:39Z
dc.date.available 2012-11-23T02:07:39Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741770529
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25415
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อประเมินผลการเปิดให้บริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการของสถานีอนามัยในจังหวัดสุพรรณบุรี ด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการ ขวัญและกำลังใจของผู้ให้บริการ รายรับ – รายจ่ายของสถานีอนามัย พร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคในสถานีอนามัยที่ได้รับการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 แห่ง โดยสัมภาษณ์ผู้รับบริการ จำนวน 400 คน และส่งแบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเองสำหรับผู้ให้บริการ จำนวน53 คน และหัวหน้าสถานีอนามัยจำนวน 20 คน ตามลำดับ เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 ผลการวิจัย พบว่า มีอัตราตอบกลับสูงในทุกกลุ่มเป้าหมาย(มากกว่าร้อยละ95) ผู้รับบริการส่วนใหญ่มีความพึงพอใจโดยรวมสูง คะแนนเฉลี่ย 4.22 (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยความพึงพอใจมีความแตกต่างกันตามขนาด และเวลาในการเปิดให้บริการ (ทั้งในเวลาราชการและวันหยุดราชการ) ของสถานีอนามัย รวมทั้งขวัญและกำลังใจของผู้ผู้ให้บริการ (P ‘s < 0.05) ด้านผู้ให้บริการมีขวัญและกำลังใจโดยรวม คะแนนเฉลี่ย 3.60 (จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยขวัญและกำลังใจของผู้ให้บริการไม่มีความแตกต่างกันตามขนาด และเวลาในการเปิดให้บริการในวันราชการและวันหยุดราชการ ของสถานีอนามัย (P ‘s > 0.05) ในด้านรายรับ – รายจ่ายของสถานีอนามัย พบว่า สถานีอนามัยที่เป็นตัวแทนในการศึกษาในครั้งนี้ทั้งหมดขาดทุน ด้านปัญหาและอุปสรรคของผู้รับบริการ พบว่า การขาดแคลนยาและเวชภัณฑ์เป็นปัญหามากที่สุด ด้านผู้ให้บริการและสถานีอนามัยมีปัญหาในด้านความปลอดภัยมากที่สุด การเปิดให้บริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการของสถานีอนามัยในจังหวัดสุพรรณบุรี ถือเป็นนโยบายที่ดีที่ควรดำเนินการต่อไป เพราะผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูง แต่ควรปรับปรุงในด้านข้อมูลที่ได้รับจากบริการ คุณภาพการให้บริการ และเน้นการส่งเสริมสุขภาพเชิงรุกให้มากขึ้นเพื่อลดปัญหาการขาดทุน ในด้านขวัญและกำลังใจของผู้ให้บริการผู้บริหารควรพิจารณาด้านค่าตอบแทนและรายได้รวมทั้งมาตราการด้านความปลอดภัยเพิ่มขึ้น โดยสถานีอนามัยขนาดใหญ่ และสถานีอนามัยทั่วไปควรเปิดให้บริการในวันราชการเวลา 16.30 – 18.30 น. และวันหยุดราชการ เวลา 08.30 – 16.30 น.
dc.description.abstractalternative The purposes of this cross sectional descriptive study were to evaluate over – time health care services of health centers in Suphanburi province with regard to of patients satisfaction, moral of health care providers, expense revenue and obstacles. The 400 patients from the sample 20 health centers were interviewed .In addition, the self-administered questionnaires were sent to 53 heads and health care providers of the 20 health care centers between November and December 2004. The response rate was over 95%. The result showed that on average, patients had overall satisfaction mean score of 4.22 out of 5. The satisfaction levels varied with size of health centers, service time on weekdays and holidays, and moral the levels of staff (P ‘s < 0.05). The average level of the scores on moral of health care providers was 3.60 out of 5 .The moral levels did not significantly varied of the health centers and service time in weekdays and holidays (P ‘s > 0.05). Financially, the services of the health centers ran at a loss. The main obstacles of the service operation included lack of medical supplies (from patient’s opinion) and the lack of safety at work (from health care provider’s opinion). The over-time health care services should be continued because of the high level of satisfaction. But health centers should develop better dissimination of information, quality of care and concentrate on health promotion, to reduce the financial loss. The moral of health care providers may be increased by improving safety at work and increasing income supports. The study findings indicate that big and general health centers should open their services from 16.30 to 18.30 on weekdays and from 08.30 to 16.30 on holidays.
dc.format.extent 3150962 bytes
dc.format.extent 3289908 bytes
dc.format.extent 13797014 bytes
dc.format.extent 3201876 bytes
dc.format.extent 11786435 bytes
dc.format.extent 5102419 bytes
dc.format.extent 7255601 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title การประเมินผลการเปิดให้บริการรักษาพยาบาลนอกเวลาราชการของสถานีอนามัยในจังหวัดสุพรรณบุรี en
dc.title.alternative Evaluation of over-time health care services at htalth centers in suphanburi province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เวชศาสตร์ชุมชน es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record