DSpace Repository

ผลกระทบของนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนมดิบในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor อิศรา ศานติศาสน์
dc.contributor.author สุรีย์พร โกกิลานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-23T04:40:12Z
dc.date.available 2012-11-23T04:40:12Z
dc.date.issued 2547
dc.identifier.isbn 9741765118
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25522
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 en
dc.description.abstract อุตสาหกรรมนมดิบในประเทศไทยได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐมาโดยตลอด เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนมดิบให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมกลับต้องประสบปัญหาภาวะน้ำนมดิบล้นตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากราคาน้ำนมดิบภายในประเทศสูงกว่าราคาน้ำนมคืนรูปนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นเหตุให้โรงงานผู้ผลิตนมพร้อมเครื่องดื่มนำเข้าน้ำนมคืนรูปแทนการรับซื้อน้ำนมดิบ รัฐบาลจึงได้ออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมภายในประเทศ แต่เนื่องจากยังไม่มีการศึกษาว่านโยบายและมาตรการเหล่านี้ เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรมากน้อยเพียงใด การศึกษาในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการปกป้องอุตสาหกรรมนมดิบของรัฐบาลที่มีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและโรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มพร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบผลกระทบที่มีต่อรายรับของภาครัฐและเกษตรกร หากมีการบังคับใช้มาตรการกำหนดสัดส่วนการรับซื้อน้ำนมดิบภายในประเทศควบคู่กับมาตรการภาษีโควตาอย่างจริงจัง กับมาตรการที่รัฐบาลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการศึกษาในครั้งนี้จะใช้ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประมาณค่าอุปสงค์นำเข้าน้ำนมคืนรูปโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามออกนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม แต่นโยบายและมาตรการเหล่านี้กลับไม่ได้ถูกบังคับใช้จริงในทางปฏิบัติ โดบเฉพาะมาตรการกำหนดสัดส่วนการรับซื้อน้ำนมดิบภายในประเทศ และมาตราการภาษีโควตานำเข้าน้ำนมคืนรูปนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความต้องการนำเข้าน้ำนมคืนรูปของโรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มเลย ซึ่งเมื่อหาค่าความยืดหยุ่นของความต้องการนำเข้าน้ำนมคืนรูปจากต่างประเทศเพื่อการผลิตนมพร้อมดื่ม ที่มีต่อราคาน้ำนมคืนรูปนำเข้าจากต่างประเทศ พบว่า มีค่าต่ำ (Inelasticity) เท่ากับ -0.4240 เนื่องจากราคาน้ำนมคืนรูปนำเข้าที่ต่ำกว่าราคาน้ำนมดิบภายในประเทศ ประกอบกับปริมาณน้ำนมดิบภายในประเทศที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ส่งผลให้โรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มยังคงมีความต้องการนำเข้าน้ำนมคืนรูป แม้ว่าราคาน้ำนมคืนรูปในตลาดโลกจะเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งถ้ารัฐบาลได้มีการใช้มาตรการเหล่านี้อย่างจริงจังในปี 2538 – 2545 แล้ว จะพบว่า รัฐบาลจะได้รับรายรับภาษีเพิ่มขึ้นเฉพาะในปี 2538 – 2540 เท่ากับ 496.89 1,468.18 และ 1,000.22 ล้านบาทตามลำดับ อย่างไรก็ตามปริมาณโควตานำเข้าน้ำนมคืนรูปที่รัฐบาลจัดสรรให้โรงงานผู้ผลิตนมพร้อมดื่มในปี 2541 – 2545 นั้น มากเกินกว่าความต้องการ และถ้าโรงงานนำเข้าน้ำนมคืนรูปตามโควตาที่ได้รับมาเก็บเป็นสต๊อกเพื่อใช้ในปีถัดไป จะส่งผลให้ความต้องการน้ำนมดิบภายในประเทศลดต่ำลง และเกิดปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดตามมา ซึ่งคิดเป็นความสูญเสียต่อเกษตรกรถึง 1,293 2,108 และ 2,679 ล้านบาท ในปี 2543 – 2545 ตามลำดับ
dc.description.abstractalternative The government has continuously supported raw milk industry in Thailand to obtain adequate raw milk supply, while cow – raising farmers have been always confronted with its over supply, due to higher price of domestic raw milk over imported recombined milk, prompting drinking milk producers to import recombined milk, instead of purchasing domestic raw milk. The government then adopted various policies and measures to protect the farmers. Since there is still no research on how much these policies and measures have been benefited the farmers. Thus, this research is aimed at studying the measures and their impact on the government revenue and farmers, in case the government adopted measures specifying the local content requirement of raw milk, coupled with the tariff quota of recombined milk, in comparison with the present government’s enforced measures. This study is based on secondary data of information; complied from relevant agencies to evaluate the import demand of recombined milk by the Least Squares Estimation method. The study’s result is that, despite the adoption of various government’s policies and measures aimed at protecting the farmers, its enforcement have not been seriously taken, particularly the local content requirement of raw milk. Moreover, the tariff quota measures on recombined milk have neither impact nor change in volume of imports by the drinking milk producers. For the result of seeking the import demand of recombined milk elasticity on imported recombined milk price is that its value is -0.4240, inelasticity. Since the price of imported recombined milk is lower than those of domestic raw milk, coupled with its inadequate supply, resulting in the increase import of recombined milk by the drinking milk producers, despite the increasing world price. Had the government effectively enforced these measures during BE 2538 – 2545, the government could have earned more tax during the year 2538 – 2540, in the amount of 496.89 1,468.18 and 1,000.22 million Baht, respectively. Moreover, it was discovered that the volume of imported quota of recombined milk, permitted by the government were far over the real demand. If the drinking milk producers have imported recombined milk in fullfiling its given quotas, for its production in the following year, it could have reduced the demand of domestic raw milk, followed by the over supply of raw milk, resulting in the loss to farmers amounting 1,293 2,108 and 2,679 million Baht in the year 2543 – 2545, respectively.
dc.format.extent 2784171 bytes
dc.format.extent 3390227 bytes
dc.format.extent 8335096 bytes
dc.format.extent 8177502 bytes
dc.format.extent 14615529 bytes
dc.format.extent 6212066 bytes
dc.format.extent 2425182 bytes
dc.format.extent 9271942 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ผลกระทบของนโยบายเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนมดิบในประเทศไทย en
dc.title.alternative The Impact of Policies on Raw Milk Industry of Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record