dc.contributor.advisor |
สุริชัย หวันแห้ว |
|
dc.contributor.advisor |
สุภางค์ จันทวานิช |
|
dc.contributor.author |
ดาริน กีฏามระ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.date.accessioned |
2012-11-23T08:14:18Z |
|
dc.date.available |
2012-11-23T08:14:18Z |
|
dc.date.issued |
2529 |
|
dc.identifier.isbn |
9745661603 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25610 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ต้องการศึกษาถึงผลกระทบของการฝึกอบรมอาชีพเยาวชนต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพ โดยอาศัยข้อมูลจากการวิจัยประเมินผลของโครงการช่วยเหลือเด็กผู้ตกอยู่ในความทุกข์ยากแบบเบ็ดเสร็จ อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจาก องค์การแตร์ เด ซอม โครงการนี้ดำเนินการโดยโครงการศึกษาทางเลือกการพัฒนาสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เขียนร่วมกับผู้ช่วยนักวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลในระหว่าเดือน กรกฎาคม 2527 ถึง มีนาคม 2528 โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์เยาวชนและผู้ปกครอง 46 คน ในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก และอำเภอหนองฉาง การวิจัยในครั้งนี้เป็นความพยายามที่จะศึกษาถึงปัญหาที่ศูนย์ฝึกอบรมแห่งนี้กำลังประสบอยู่นั้นคือ การที่เยาวชนที่ผ่านการฝึกอบรมจากศูนย์ฯ ตัดสินใจประกอบชีพที่ไม่ใช่เกษตรกรรมกันมากขึ้น จากสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ทางสังคมวิทยาถือว่า เป็นผลที่ไม่คาดคิดที่เกิดจากการกระทำทางสังคม อันได้แก่การจัดการฝึกอบรมและ การดำเนินการสินเชื่อ นอกจากนั้นยังได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของการฝึกอบรมต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพของเยาวชนในเขตจังหวัดอุทัยธานีอีกด้วย และผลการศึกษาได้สนับสนุนสมมุติฐานในทางบวก กล่าวคือภูมิหลังของเยาวชนและการดำเนินการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเยาวชน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงก่อนการอบรมเยาวชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่หลังการฝึกอบรมแล้ว กลับมีจำนวนเยาวชนที่ตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมลดลง จากการศึกษาพบว่าภูมิหลังทางด้านการศึกษาและเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเยาวชนในทางลบ กล่าวคือเยาวชนที่มีการศึกษาต่ำและมีเศรษฐกิจยากจนมากมักจะตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากกว่าเยาวชนที่มีการศึกษาสูงและมีเศรษฐกิจพอมีพอกิน และจากการศึกษายังพบอีกด้วยว่าการดำเนินการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเยาวชนในทางบวก กล่าวคือ ความรู้ความเข้าใจในการฝึกอบรม, การให้สินเชื่อ, ความมุ่งหวังในการเข้ารับการฝึกอบรม และทัศนะต่ออาชีพและต่อศูนย์ ฯ มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจประกอบอาชีพเกษตรกรรมของเยาวชน |
|
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this research is to study the impact of youth training on the occupational choices of young farmers in local Thailand. All information has been collected during July 1984 - March 1985, under an Evaluation Research Project : The case of Integrated Agricultural Training Youth Centre, Amphoe Nong Knayang, Uthaithani Province carried by Alternative Development Studies Programme Chulalongkorn University Social Science Research Institute in which the writer also served as researcher assistances 46 parents and young farmers formaly trainees of the centre are from 3 districts (Amphoe Banrai, Amphoe Lansak and Amphoe Nong Chang). The unstructured interview method is used based on a prepared interview guide. This thesis is trying to apply R.K.Merton's concept on unanticipated consequences of social action, this centre has been facing with such a problem. And this research attempts to analysis its effects on agricultural choices in the community. The results fall into two factors supporting the hypothesis. There are a clear positive relationship between the trainees' family background and the sources of unanticipated consequences of the training activities on one hand, and their agricultural choices on the other. The finding is that before training young farmers prefer to work in agricultural field more than non-agricultural field but after training their wants are changed somewhat. Education and economic are related to trainees' agricultural choices, in the other hand, low educated and [extremely] Poor trainees often work in agricultural field more than highly educated and poor trainees. With reference to the four sources of unanticipated con-sequences of the training activities, basic value is the most important factor, the imperious immediacy of interest is the second, error is the third and ignorance is the last factor. |
|
dc.format.extent |
522678 bytes |
|
dc.format.extent |
1350553 bytes |
|
dc.format.extent |
1172961 bytes |
|
dc.format.extent |
1309464 bytes |
|
dc.format.extent |
830889 bytes |
|
dc.format.extent |
1074955 bytes |
|
dc.format.extent |
1085095 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.title |
ผลกระทบของการฝึกอบรมอาชีพเยาวชนต่อการตัดสินใจประกอบอาชีพ : ศึกษากรณีศูนย์ฝึกอาชีพเยาวชนแบบผสมผสาน อำเภอหนองขาหย่าง จังหวัดอุทัยธานี |
en |
dc.title.alternative |
The impact of youth training on the occupational choices : the case of integrated agricultural training youth center, Amphoe Nong Khayang, Uthai Thani province |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |