Abstract:
การแก้ไขสะบ้าเคลื่อนโดยการทำ proximal tube realignment ซึ่งเป็นการทำท่อปรับแนวเอ็นส่วนต้นของกลุ่มกล้ามเนื้อ quadriceps ที่ข้อเข่าสุนัขจำนวน 30 เข่าที่มีสะบ้าเคลื่อน ที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แบ่งข้อเข่าและการรักษาเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นข้อเข่าที่มีสะบ้าเคลื่อนไม่เกินระดับที่ 2 จำนวน 10 เข่า เป็นระดับที่ 1 จำนวน 4 เข่า และระดับที่ 2 จำนวน 6 เข่าได้รับการแก้ไขโดยวิธี trochlear wedge recession เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 2 เป็นข้อเข่าที่มีสะบ้าเคลื่อนระดับที่ 2 จำนวน 5 เข่า ได้รับการแก้ไขโดยการทำ proximal tube realignment เพียงอย่างเดียว กลุ่มที่ 3 เป็นข้อเข่าที่มีสะบ้าเคลื่อนระดับที่ 2 จำนวน 10 เข่า และกลุ่มที่ 4 เป็นข้อเข่าที่มีสะบ้าเคลื่อนระดับที่ 3 จำนวน 5 เข่า ทั้ง 2 กลุ่มนี้ได้รับการแก้ไขโดยการทำ trochlear wedge recession ร่วมกับ proximal tube realignment การประเมินผลจากการตรวจคลำและการใช้ขาของสุนัขภายหลังการผ่าตัดที่ 10 วัน, 4, 8 และ 12 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มที่ 1 มีเพียง 4 เข่า (40%) ที่หายจากการมีสะบ้าเคลื่อน การตรวจที่ 10 วัน และ 4 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด พบมีสะบ้ากลับเคลื่อนออกจากร่อง trochlear sulcus ในทิศทางเดิม 4 เข่า (40%) ที่ 8 และ 12 สัปดาห์พบสะบ้าเคลื่อนเพิ่มเป็น 6 เข่า (60%) กลุ่มที่ 2 มีข้อเข่าหายจากสะบ้าเคลื่อน 3 เข่า (60%) การตรวจที่ 10 วัน, 4 และ 8 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด พบมีสะบ้ากลับเคลื่อนออกจากร่อง trochlear sulcus ในทิศทางเดิม 1 เข่า (20%) ที่ 12 สัปดาห์ พบสะบ้ากลับเคลื่อนออกจากร่อง trochlear sulcus ในทิศทางเดิมเพิ่มเป็น 2 เข่า (40%) กลุ่มที่ 3 การตรวจที่ 10 วัน, 4, 8 และ 12 สัปดาห์ พบสะบ้ายังคงอยู่ในร่อง trochlear sulcus 9 เข่า (90%) และพบสะบ้าเคลื่อนไปทางด้านตรงกันข้าม เนื่องจากแก้ไขมากเกิน 1 เข่า (10%) กลุ่มที่ 4 มีข้อเข่าหายจากสะบ้าเคลื่อนเพียง 2 เข่า (40%) การตรวจที่ 10 วัน พบมีสะบ้าเคลื่อนออกจากร่อง trochlear sulcus ในทิศทางเดิม 1 เข่า (20%) เพิ่มเป็น 2 เข่า (40%) ที่ 4 สัปดาห์และเป็น 3 เข่า (60%) ที่ 8 และ 12 สัปดาห์