dc.contributor.author |
สุวัฒน์ กลิ่นหอม |
|
dc.contributor.author |
สุวรรณา กิจภากรณ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสัตวบาล |
|
dc.date.accessioned |
2006-09-18T11:39:35Z |
|
dc.date.available |
2006-09-18T11:39:35Z |
|
dc.date.issued |
2532 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2597 |
|
dc.description.abstract |
ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 การทดลอง เพื่อหาค่าการย่อยได้และการใช้ประโยชน์ของต้นข้าวโพดฝักอ่อน เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน และหญ้าขนในกระต่าย การทดลองที่ 1 แบ่งกระต่ายออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว เพื่อศึกษาค่าการย่อยได้ของโภชนะในอาหารหยาบทั้ง 3 ชนิด ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าค่าการย่อยได้ วัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ เยื่อใย ไนโตรเจน-ฟรีเอกแทรคซ์ และพลังงานของเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนมีค่าสูงกว่าในต้นข้าวโพดฝักอ่อนและหญ้าขน ยกเว้นค่าการย่อยได้โปรตีนซึ่งต้นข้าวโพดฝักอ่อนมีค่าสูงกว่า ผลจากการให้อาหารหยาบแต่เพียงอย่างเดียวทำให้กระต่ายมีการสูญเสียน้ำหนักตัว จึงไม่ควรใช้อาหารหยาบเหล่านี้เลี้ยงกระต่ายแต่เพียงอย่างเดียว การทดลองที่ 2 ใช้กระต่ายจำนวน 54 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 13 ตัว นำกระต่ายแต่ละตัวขึ้นขังกรงเดี่ยวและเลี้ยงด้วยอาหารหยาบชนิดใดชนิดหนึ่ง พร้อมทั้งเสริมด้วยอาหารข้นอัดเม็ดในระดับเต็มที่ ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากระต่ายกลุ่มที่เลี้ยงด้วยเหลือกข้าวโพดฝักอ่อนมีระดับการกินต่ำกว่ากระต่ายกลุ่มที่เลี้ยงด้วยต้นข้าวโพดฝักอ่อนและหญ้าขนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับอัตราการเจริญเติบโตต่อวันและประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารของกระต่ายทั้ง 3 กลุ่ม ไม่มีความแตกต่างกัน ในการศึกษาพบว่ากระต่ายกลุ่มที่เลี้ยงด้วยเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนมีอาการท้องเสียเกิดขึ้นแต่ไม่พบว่ามีอัตราการตาย เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนการผลิตในส่วนที่เป็นค่าอาหารพบว่ากระต่ายที่เลี้ยงด้วยต้นข้าวโพดฝักอ่อน และเปลือกข้าวโพดฝักอ่อน มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้หญ้าขน 3.7 และ 18.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลจากการศึกษาในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าต้นข้าวโพดฝักอ่อน และเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนสามารถนำมาใช้เป็นแหล่งอาหารหยาบสำหรับกระต่ายได้ อย่างไรก็ตามในการใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนควรระมัดระวังเกี่ยวกับอาการท้องเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อเสนอแนะในการเลี้ยงกระต่ายด้วยเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนก็คือ ควรเพิ่มระดับเยื่อใยในอาหารข้น หรือใช้เปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเลี้ยงร่วมกับอาหารหยาบชนิดอื่นที่มีคุณภาพต่ำ เช่น ฟางข้าว |
en |
dc.description.abstractalternative |
Two experiments were conducted to evaluate the digestibilities and the utilization of baby corn stover (BCS), baby corn husk (OCH) and para grass as sources of roughage for rabbits. In experiment I, three groups of six rabbits were used to determine directly for digestible nutrients of the three sources of roughage. The digestibility of nutrients such as dry matter (DM), organic matter (OM), crude fiber (CF), nitrogen-free extract (NFE) and energy in BCH was higher than in BCS and para grass with the exception of crude protin (CP) which was slightly higher for BCS than the other two roughages. Since feeding roughage alone caused lose of body weight, it was suggested that the three sources of roughage cannot be scienty fed to rabbits. In experiment 2, fifty-four weanling rabbitm were randomly allotted to the three treatments with eighteen rabbits in each treatment. Animals were housed individually and fed concentrate pellet diet plus the experimental roughages ad libitum. Results showed that average feed intake was significantly (P<0.05) lower for group fed BCH than the other groups. Average daily gain and feed efficiency were not significantly different between treatments. Incidences of diarrhea were observed in group fed BCH, but no mortality occurred. Economic analysis indicated that BCS and BCH reduced the cost of feeding by 3.7% and 18.4% respectively. The results indicated that BCS and BCH and be utilized as sources of roughage in rabbit feeding. However, considerable care is required when feeding BCH to rabbit, because diarrhea may become a problem. It was suggested that if BCH is fed to rabbit, somewhat more fiber should be added to the concentrate or feed BCH with other poor quality roughages such as rice straw. |
en |
dc.description.sponsorship |
กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช |
en |
dc.format.extent |
5982306 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ข้าวโพดฝักอ่อน |
en |
dc.subject |
อาหารสัตว์ |
en |
dc.subject |
กระต่าย -- การเลี้ยง |
en |
dc.title |
การใช้ต้นและเปลือกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาหารสำหรับกระต่ายรุ่น : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Fresh baby corn stover and husk in feeding for growing rabbits |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
Suwanna.Ki@Chula.ac.th |
|