dc.contributor.advisor | นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์ | |
dc.contributor.author | สอาด พรหมน้อย | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-26T12:48:41Z | |
dc.date.available | 2012-11-26T12:48:41Z | |
dc.date.issued | 2524 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26204 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาวิธีการจัดประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 2. เพื่อหาองค์ประกอบสำคัญของการจัดประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวความคิดเห็นของครูใหญ่ ครู และผู้ปกครองนักเรียน 3. เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูใหญ่ ครู และประชาชนที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนทั้งสิ้น 610 คน ประกอบด้วยครูใหญ่ 82 คน ครู 264 คน และประชาชน 264 คน 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามจำรวน 3 ชุด เป็นแบบเลือกตอบ และมาตราส่วนประเมินค่า แบบสอบถามแต่ละชุดมี 3 ตอน ตอนที่ 1 สอบถามสถานภาพของผู้ตอบ ตอนที่ 2 สอบถามการจัดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษา และตอนที่ 3 สอบถามปัญหาการจัดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษา 3. การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามให้ประชากรตอบจำนวน 610 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 582 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 95.41 แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1. สภาพที่ปฏิบัติจริง 1.1 ด้านความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรในโรงเรียน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 1.2 ด้านความสัมพันธ์กับนักเรียนและศิษย์เก่า ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 1.3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย 1.4 ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลและสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย แต่ประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์มาก 1.5 ด้านการใช้กิจกรรมนักเรียน งานประจำปี และบริการของโรงเรียน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย 1.6 ด้านการใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อมวลชน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าโรงเรียนได้ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย 2. สภาพที่ควรปฏิบัติ 2.1 ด้านความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรในโรงเรียน กลุ่มครูใหญ่มีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก แต่กลุ่มครูและประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดหรือมากที่สุด 2.2 ด้านความสัมพันธ์กับนักเรียนและศิษย์เก่า กลุ่มครูใหญ่มีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก แต่กลุ่มครูและประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดหรือมากที่สุด 2.3 ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 2.4 ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคลและสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 2.5 ด้านการใช้กิจกรรมนักเรียน งานประจำปี และบริการของโรงเรียน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 2.6 ด้านการใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อมวลชน ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชนมีความเห็นว่าควรปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ดีหรือมาก 3. องค์ประกอบสำคัญของการจัดประชาสัมพันธ์ในโรงเรียนประถมศึกษา การจัดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษา ตามความคิดเห็นของครูใหญ่ ครู และประชาชน โดยเรียงลำดับที่ให้ความสำคัญได้ว่าโรงเรียนควรจะให้ความสำคัญการจัดการประชาสัมพันธ์ ด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีของบุคลากรในโรงเรียนเป็นอันดับแรก และด้านที่ให้ความสำคัญลำดับถัดไป คือ ด้านความสัมพันธ์กับนักเรียน และศิษย์เก่า ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ด้านการใช้กิจกรรมนักเรียน งานประจำปี และบริการของโรงเรียน ด้านความสัมพันธ์กับกลุ่มบุคคล และสมาคมวิชาชีพต่าง ๆ และอันดับสุดท้าย คือด้านการใช้เอกสาร สิ่งพิมพ์ และสื่อมวลชน 4. ปัญหาในการจัดประชาสัมพันธ์ ทั้งกลุ่มครูใหญ่ ครู และประชาชน มีความเห็นวาการจัดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษา เป็นปัญหาอยู่ในเกณฑ์น้อย | |
dc.description.abstractalternative | Objectives of the Study: 1. To study the management of elementary school public relations in Uttaradit. 2. To find out important components in elementary school public relations management following the ideas of principals, teachers, and parents. 3. To study the problems in the management of elementary school public relations.Research Procedures: 1. The sample in this study included 610 persons, 82 principals,264 teachers, and 264 perents under the Uttaradit Elementary Educational Office. 2. The instruments used in this study were three questionnaires. Each one had three parts. Personal information was asked in the first; six areas of management of elementary school public relations were asked about in the second; and the problems of the management of elementary school public relations were asked about in the third. 3. Six hundred ten questionnaires were distributed. Of these, 582, or 95.41 percent, were returned. The data were analyzed by using percentages, arithmetic means, and standard deviations. Results: 1. Real practice 1.1 Staff relations. The opinions of principals, teachers, and parents concerning staff relations were that the staff relations were at good level. 1.2 Pupil and Alumni relations. The opinions of principals, teachers, and parents were that pupil and alumni relations were at good level. 1.3 Parent and Community relations. The opinio9ns of principals, teachers and parents were that parent and community relations were at poor level. 1.4 Group and professional Association relations. The opinions of principals and teachers were that group and professional association relations were at such relation at poor level, but in the opinion of parents were at good level. 1.5 Student Activities, Special Events and Services. The opinions of principals, teachers, and parents were that student activities, special events and services relations were at poor level. 1.6 Publications and Mass Media. The opinions of principals, teachers, and parents were that publications and mass media relations were at poor level. 2. Ideal practice. 2.1 Staff relations. The opinions of principals were that staff relations should be at good level, but the opinions of teachers and parents were that such relation should be very good level. 2.2 Pupil and Alumni relations. The opinions of principals were that pupil and alumni relations should be at good level, but the opinions of teachers and parents were that such relation should be at very good level. 2.3 Parent and Community relations. The opinions of principals, teachers and parents were that parent and community relations should be at good level. 2.4 Group and professional association relations. The opinions of principals, teachers and parents were that group and professional association relations should be at good level. 2.5 Student Activities, Special events and services. The opinions of principals, teachers and parents were that student activities, special events and services relation should be at good level. 2.6 Publications and mass media. The opinions of principals, teachers and parents were that publications and mass midia relations should be at good level. 3. The important components of elementary school public relations management following the ideas of the principals, teachers and parents. By ranking the opinio9ns of principals, teachers and parents, the important components in management of elementary school public relations were are follows: staff relations; pupil and alumni relations; parent and community relations; student activities, special events and services; group and professional association relations; publications and mass media relations. 4. Problem. The opinions of princip0als, teachers and parents concerning the problems of management of elementary school public relations were that there were poor level. | |
dc.format.extent | 639876 bytes | |
dc.format.extent | 632374 bytes | |
dc.format.extent | 1134163 bytes | |
dc.format.extent | 548937 bytes | |
dc.format.extent | 3460755 bytes | |
dc.format.extent | 1043213 bytes | |
dc.format.extent | 1514291 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การจัดประชาสัมพันธ์ของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดอุตรดิตถ์ | en |
dc.title.alternative | Management of elementary school public relations in Uttaradit | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |