Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็น โดยพิจารณาการปรับตัวของอาเซียนให้ทันกับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านการสร้างกลไกใหม่ 2 กลไก คือการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อแสดงว่าอาเซียนยังคงธำรงอยู่และมีบทบาทสำคัญในฐานะองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศระดับภูมิภาคในยุคหลังสงครามเย็น โดยใช้แนวคิด “Neo-Liberal Institutionalism” เป็นกรอบในการอธิบาย สมมติฐานของการวิจัย คือ การปรับตัวของอาเซียนโดยการปรับหรือสร้างกลไกความร่วมมือที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซียนยังคงบทบาทในฐานะองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศระดับภูมิภาคต่อไปแม้ในบริบทความความเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า อาเซียนสร้างและปรับกลไกความร่วมมือเพื่อให้สามารถตอบสนอง/รับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบทระหว่างประเทศ ซึ่งสงผลให้สามารถคงบทบาทในฐานะองค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในยุคหลังสงครามเย็นต่อไปได้ การปรับกลไกดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ประเทศสมาชิกมีความเห็นร่วมกันและยอมรับผลประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนว่า จะเอื้อผลประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงต่อตนและภูมิภาคมากกว่าการดำเนินการแต่โดยลำพัง นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นองค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคเพียงองค์กรเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดความร่วมมือด้านความมั่นคงที่มีขอบเขตครอบคลุมเอเชีย-แปซิฟิกทั้งหมดด้วย ซึ่งหมายถึงการที่อาเซียนคงมีความชอบธรรมที่จะธำรงอยู่และทำหน้าที่องค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคต่อไป