DSpace Repository

บทบาทของอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็น : วิเคราะห์กรณีการปรับกลไกความร่วมมืออาเซียน ศึกษากรณีการก่อตั้ง ARF และ AFTA

Show simple item record

dc.contributor.advisor ปราณี ทิพย์รัตน์
dc.contributor.author ชมัยภรณ์ ถนอมศรีเดชชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-27T05:07:49Z
dc.date.available 2012-11-27T05:07:49Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741752237
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26344
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบาทของอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็น โดยพิจารณาการปรับตัวของอาเซียนให้ทันกับสถานการณ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปผ่านการสร้างกลไกใหม่ 2 กลไก คือการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF) และเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) เพื่อแสดงว่าอาเซียนยังคงธำรงอยู่และมีบทบาทสำคัญในฐานะองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศระดับภูมิภาคในยุคหลังสงครามเย็น โดยใช้แนวคิด “Neo-Liberal Institutionalism” เป็นกรอบในการอธิบาย สมมติฐานของการวิจัย คือ การปรับตัวของอาเซียนโดยการปรับหรือสร้างกลไกความร่วมมือที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อาเซียนยังคงบทบาทในฐานะองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศระดับภูมิภาคต่อไปแม้ในบริบทความความเปลี่ยนแปลงในระบบระหว่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า อาเซียนสร้างและปรับกลไกความร่วมมือเพื่อให้สามารถตอบสนอง/รับมือ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบริบทระหว่างประเทศ ซึ่งสงผลให้สามารถคงบทบาทในฐานะองค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพในยุคหลังสงครามเย็นต่อไปได้ การปรับกลไกดังกล่าวเป็นผลมาจากการที่ประเทศสมาชิกมีความเห็นร่วมกันและยอมรับผลประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนว่า จะเอื้อผลประโยชน์ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงต่อตนและภูมิภาคมากกว่าการดำเนินการแต่โดยลำพัง นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นองค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคเพียงองค์กรเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดความร่วมมือด้านความมั่นคงที่มีขอบเขตครอบคลุมเอเชีย-แปซิฟิกทั้งหมดด้วย ซึ่งหมายถึงการที่อาเซียนคงมีความชอบธรรมที่จะธำรงอยู่และทำหน้าที่องค์กรความร่วมมือส่วนภูมิภาคต่อไป
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to assess the role of ASEAN in the Post Cold War. By examining the two newly created ASEAN institutional mechanisms namely, ASEAN Regional Forum (ARF) and ASEAN Free Trade Area (AFTA), this study aims to show that ASEAN remains relevant and important in the maintenance of peace and stability in the region and Asia-Pacific as a whole. The main hypothesis is that ASEAN adjustment through the creation of new institutional mechanisms is the crucial factor in enhancing its role as a regional organization committed to intensifying cooperation among the member countries in the changing international context.
dc.format.extent 3929827 bytes
dc.format.extent 17045753 bytes
dc.format.extent 31219062 bytes
dc.format.extent 47286660 bytes
dc.format.extent 21490004 bytes
dc.format.extent 28513966 bytes
dc.format.extent 4682706 bytes
dc.format.extent 44347374 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title บทบาทของอาเซียนในยุคหลังสงครามเย็น : วิเคราะห์กรณีการปรับกลไกความร่วมมืออาเซียน ศึกษากรณีการก่อตั้ง ARF และ AFTA en
dc.title.alternative The role ASEAN in the post cold war era: an analysis of institution mechanism adhustment through the establishment of ARF and AFTA en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record