DSpace Repository

ซิมโฟเอ็ม ทางรถไฟสายมรณะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีรชาติ เปรมานนท์
dc.contributor.author ประเสริฐ ฉิมท้วม
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-27T07:12:28Z
dc.date.available 2012-11-27T07:12:28Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741735235
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26406
dc.description วิทยานิพนธ์(ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract บทประพันธ์เพลง ซิมโฟนิกโพเอ็ม ทางรถไฟสายมรณะ ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างบทประพันธ์เพลงบทใหม่ในแบบดนตรีพรรณนา การประพันธ์เพลงบทนี้ ผู้ประพันธ์ต้องการสื่อให้ได้จินตนาการถึง บรรยากาศและเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของเส้นทางรถไฟสายมรณะ อีกทั้งเพื่อให้ผู้ฟังได้ระลึกถึงสถานที่ที่ก่อให้เกิดเรื่องราวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น สถานีรถไฟบางกอกน้อย สุสานทหารสัมพันธมิตร สะพานข้ามแม่น้ำแคว น้ำตกไทรโยค และตำนานถ้ำมหาสมบัติ ให้อยู่ในความทรงจำตลอดไป ลักษณะโดยรวมของบทประพันธ์ เป็นบทประพันธ์สำหรับวงเซมเบอร์ออร์เคสตรา มีความยาวประมาณ 22 นาที ประกอบด้วยโครงสร้างใหญ่จำนวน 5 ท่อน บทประพันธ์นี้มีลักษณะดนตรีเป็นแบบระบบโทนาลิตีเป็นส่วนใหญ่ บางส่วนใช้แบบพาราโทนัลบ้าง เพื่อความเหมาะสมของท่วงทำนองที่ใช้ในการบรรยายเรื่องราว บางท่อนจะเน้นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นไทย เพื่อเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น และมีการนำทำนองดนตรีที่เป็นที่รู้จักทั่วไปหลายทำนอง มาสอดแทรกและปรับแต่งใช้ในบทประพันธ์บทนี้ องค์ประกอบสำคัญที่ใช้ในบทประพันธ์เพลง ได้แก่ การเลือกใช้กลุ่มโน้ตหลายกลุ่ม ที่จัดให้เป็นโมทีฟที่สำคัญขึ้น แล้วนำไปใช้ในการดำเนินทำนองโดยยึดความสัมพันธ์ของแต่ละโมทีฟขั้นคู่และคอร์ดที่เกิดขึ้นด้วยการนำโน้ตในแต่ละกลุ่มมาใช้ มีทั้งขั้นคู่ 3-4-5 คอร์ดเรียงคู่ 4-5 คอร์ดเรียงคู่ 2 คอร์ดดิมินิชท์ขั้นคู่เจ็ด และเสียงประสานที่เป็นแบบโพลีโทนาลิตี เป็นต้น พื้นผิวของบทประพันธ์มีการใช้ทั้งโฮโมโทฟี โพลีโฟนี เฮเทโรโฟนี ประกอบกับเทคนิควิธีการประพันธ์ เช่น การซ้ำ การเลียน ซีเควนซ์ การพลิกกลับ การถอยกลับ เป็นต้น ทางด้านอัตราจังหวะมีการปรับเปลี่ยนเครื่องหมายกำหนดจังหวะหลายครั้ง มีทั้งอัตราธรรมดา อัตราผสม และ อัตราซ้อน
dc.description.abstractalternative The Symphonic Poem "Railway of Death", is intended to be a piece of program music. The composer wishes to revive some of the happenings in the history : the Bangkoknoi Railway Station, the Allied Soldiers' Cemetery, the Bridge over the River Kwai, the Sai Yok Waterfall, the Legend of Treasure Cave and to encourage the perpetuation of the remembrance of these events . The Symphonic Poem comprising 5 movements is composed for a chamber orchestra. The performance duration is 22 minutes. A large part of the composition is in tonal system, with some paratonal, to suit the programmatic musical ideas. Some movements contain Thai music elements to act as bridges or connecting passages to those events; in addition, well-known melodies taken from several sources are inserted with transformations. Important elements used in the composition are motives. Intervals and chords resulting from certain notes from motives: the intervals of 3rd- 4th- 5th , quartal chord, quintal chord, secundal chord, diminished seventh chord, are employed throughout the composition. Polytonality is felt in some passages. The texture includes homophony, polyphony and heterophony, with techniques such as repetitions, imitations, sequences, inversions, retrogrades. Changes of time signatures: simple, compound, and complex time, are evident in the composition.
dc.format.extent 1917142 bytes
dc.format.extent 800462 bytes
dc.format.extent 53949673 bytes
dc.format.extent 343899 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ซิมโฟเอ็ม ทางรถไฟสายมรณะ en
dc.title.alternative Symphonic poem railway of death en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การประพันธ์เพลง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record