Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือเพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์ (บริษัท T) 2) ความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์ (บริษัท L) และ 3) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของตัวแปรต้นที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และเพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีประเภทธุรกิจแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าจากค่าทดสอบระดับความมีนัยสำคัญของความถดถอย ซึ่งบ่งบอกการให้ความสำคัญของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินของบริษัท T โดยแบ่งการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินออกเป็น 3 ตัว ได้แก่ ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดจำหน่าย และตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่าย บริษัท T จะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินคือ ยอดขายรายไตรมาสต่อจำนวนลูกค้า ผลผลิตไตรมาสปัจจุบันต่อผลผลิตไตรมาสที่ผ่านมา และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่อจำนวนพนักงาน ส่วนบริษัท L สามารถแบ่งการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินได้ 3 ตัว คือตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และรายการตัดจำหน่าย และตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่าย บริษัท L จะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินคือ ยอดขายรายไตรมาสต่อจำนวนลูกค้า สำหรับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจ (Adjusted R2) ของตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่ายของบริษัท T ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์ ส่วนบริษัท L มีค่าสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจของตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษีมากที่สุด ดังนั้นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษีเป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่เหมาะสมที่สุดของบริษัท L ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์