DSpace Repository

ตัวชี้วัดทางการเงินที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมรถยนต์

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรศักดิ์ ทุมานนท์
dc.contributor.author กิตติศักดิ์ สรแพทย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2012-11-27T07:15:31Z
dc.date.available 2012-11-27T07:15:31Z
dc.date.issued 2548
dc.identifier.isbn 9745324981
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26408
dc.description วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือเพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์ (บริษัท T) 2) ความสัมพันธ์ของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์ (บริษัท L) และ 3) ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์และอุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์การศึกษานี้ใช้การวิเคราะห์ความถดถอยแบบเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของตัวแปรต้นที่เป็นตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงิน และเพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีประเภทธุรกิจแตกต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าจากค่าทดสอบระดับความมีนัยสำคัญของความถดถอย ซึ่งบ่งบอกการให้ความสำคัญของตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินของบริษัท T โดยแบ่งการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินออกเป็น 3 ตัว ได้แก่ ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดจำหน่าย และตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่าย บริษัท T จะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินคือ ยอดขายรายไตรมาสต่อจำนวนลูกค้า ผลผลิตไตรมาสปัจจุบันต่อผลผลิตไตรมาสที่ผ่านมา และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมต่อจำนวนพนักงาน ส่วนบริษัท L สามารถแบ่งการวิเคราะห์ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินได้ 3 ตัว คือตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษี ตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และรายการตัดจำหน่าย และตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่าย บริษัท L จะให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ไม่ใช่ทางการเงินคือ ยอดขายรายไตรมาสต่อจำนวนลูกค้า สำหรับตัวชี้วัดผลการดำเนินงานทางการเงินที่เหมาะสมพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจ (Adjusted R2) ของตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์อย่างง่ายของบริษัท T ที่เป็นธุรกิจผลิตรถยนต์ ส่วนบริษัท L มีค่าสัมประสิทธิ์ในการตัดสินใจของตัวชี้วัดทางการเงินที่เป็นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษีมากที่สุด ดังนั้นกำไรจากการดำเนินงานหลังหักภาษีเป็นตัวชี้วัดทางการเงินที่เหมาะสมที่สุดของบริษัท L ที่เป็นธุรกิจซื้อขายรถยนต์
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to study (1) the relationship between financial and non financial indicators as well as proper non financial indicators for an automobile manufacturing firm (company T) (2) the relationship between financial and non financial indicators as well as proper non financial indicators for an automobile dealer (company L) and 3) proper financial indicators for both automobile manufacturing firm and automobile dealer. This study uses multiple regression analysis to test the significance of non financial indicators. Moreover, it uses multiple regression analysis to determine proper financial indicators for a diverse business automobile firm. Using three financial indicators, this study finds significant relationships between financial and non financial indicators for company T, including Net Operating Profit after Tax (NOPAT), financial measure of Earnings before Interest, Tax, Depreciation, and Amortization (EBITDA) and Economic Value Added.(Simple EVA). For company T, significant non financial indicators include quarterly sales per customer, current quarterly to previous quarterly productivity and training cost per employee. For company L, significant financial indicators include NOPAT, EBITDA and EVA while the only significant non financial indicator is sales per customer. Additionally, based on Adjusted R Square criterion, the most proper financial measure for company T is EVA while that of company L is NOPAT.
dc.format.extent 2733689 bytes
dc.format.extent 2758804 bytes
dc.format.extent 5369453 bytes
dc.format.extent 2680171 bytes
dc.format.extent 8034694 bytes
dc.format.extent 2109187 bytes
dc.format.extent 16652884 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ตัวชี้วัดทางการเงินที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมรถยนต์ en
dc.title.alternative Proper financial measures within the automobile industry en
dc.type Thesis es
dc.degree.name บัญชีมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การบัญชี es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record