Abstract:
ศึกษาเปรียบเทียบอัตราการผสมติดของแม่โครีดนมที่ใช้โปรแกรมการเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาการผสมเทียม โดยสุ่มแบ่งแม่โคจำนวน 79 ตัวเป็น 3 กลุ่ม คือ แม่โคกลุ่มที่ 1 (Ovsynch) ได้รับการฉีดฮอร์โมน GnRH 10 ไมโครกรัมในวันแรก และฉีด PGF[subscript 2beta] 500 ไมโครกรัมในวันที่ 7 และฉีด GnRH ครั้งที่ 2 10 ไมโครกรัม ในวันที่ 9 และกำหนดเวลาผสมเทียมในวันที่ 10 (16-20 ซม. หลังจากฉีด GnRH ครั้งที่ 2) จำนวน 24 ตัว แม่โคกลุ่มที่ 2 (CIDR-B) ได้รับการสอด CIDR-B ในวันแรก และฉีดฮอร์โมนเอสตราไดออล เบนโซเอท 5 มิลลิกรมในวันที่ 2 ฉีด PGD[subscript 2beta] 500 ไมโครกรัมในวันที่ 7 ดึง CIDR-B ออกในวันที่ 8 และฉีดเอสตราไดออลเบนโซเอท 1 มิลลิกรัมในวันที่ 9 และกำหนดเวลาผสมเทียมในวันที่ 10 (54-60 ซม. หลังจากดึง CIDR-B ออก) จำนวน 27 ตัว แม่โคกลุ่มที่ 3 (ควบคุม) ได้รับการฉีดฮอร์โมน PGF[subscript 2 beta]500 ไมโครกรัม และผสมเทียมหลังจากสังเกตอาการเป็นสัดจำนวน 28 ตัว ผลการทดลองพบว่าแม่โคกลุ่มที่ 2 มีอัตราการผสมติดสูงกว่าแม่โคกลุ่มที่ 1 (22.2% vs 4.2% ; P=0.06) และอัตราการผสมติดของแม่โคกลุ่มที่ 2 มีแนวโน้มสูงกว่าแม่โคกลุ่มที่ 3 (22.2% vs 17.9%; P>0.05) สรุปได้ว่าโปรแกรมการเหนี่ยวนำการตกไข่และกำหนดเวลาการผสมเทียม (CIDR-B) สามารถช่วยเพิ่มอัตราการผสมติดและสมรรถภาพการสืบพันธุ์ของแม่โครีดนมได้