DSpace Repository

ผลของยาไพริเมทามีนต่อการติดเชื้อ พลาสโมเดียม กัลลินาเซียม และ ยีน ได ไฮ โดร โฟเลทรีดักเตทไทมิไดเลทซินเทส

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวรรณี นิธิอุทัย
dc.contributor.advisor พงชัย หาญยุทธนากร
dc.contributor.advisor นารีรัตน์ วิเศษกุล
dc.contributor.author สุรสิทธิ์ อ้วนพรมมา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-11-29T08:45:20Z
dc.date.available 2012-11-29T08:45:20Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741745648
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26965
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยาไพริเมทามีนต่อการติดเชื้อ พลาสโมเดียม กัลลินาเซียม และผลของยาไพริเมทามีนต่อยีนไดไฮโดรโฟเลทรีดักเทส-ไทมิไดเลทซินเทสของเชื้อ พลาสโมเดียมกัลลินาเซียม ในไก่ไข่เพศผู้อายุ 3-4 สัปดาห์ ในการศึกษาประสิทธิภาพของยา ใช้ไก่ จำนวน 220 ตัว แบ่งเป็น 11 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัว กลุ่ม ที่ 1 ไก่ควบคุมที่ไม่ได้รับเชื้อและไม่ได้รับยากลุ่มที่ 2 ไก่ควบคุมที่ได้รับเชื้อและไม่ได้รับยา กลุ่มที่ 3-11 ไก่ติดเชื้อและได้รับ ยา pyrimethamine ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน ในขนาด 0.04, 0.1, 0.2, 0.5, 1.0, 2.5, 5.0, 7.5 และ 10.0 มก กก.⁻¹ ตามลำดับ ผลปรากฏว่าเมื่อสิ้นสุดการทดลองยา pyrimethamine ขนาด 7.5 มกกก.⁻¹ มีประสิทธิภาพสูงที่สุด (minimum effective dose, MED) อัตราเฉลี่ยของระดับเชื้อในกระแสเลือดลดลงอย่างเห็นได้ชัดตลอดการทดลอง แต่ยาไม่สามารถกำจัดเชื้อให้หมดไปจากกระแสเลือดได้ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของระดับเชื้อ P. gallinaceum ในกระแสเลือด หลังการให้ยา pyrimethamine อย่างต่อเนื่องในขนาด MED และขนาดที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 และ 4 เท่าของขนาด MED ใช้ไก่ จำนวน 120 ตัว แบ่งใช้เป็นรุ่นๆ รุ่นละ 10 ตัว 2 กลุ่ม กลุ่มละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 ไก่ควบคุมที่ติดเชื้อและไม่ให้ยา กลุ่มที่ 2 ไก่ที่ติดเชื้อไอโซเลท MNTH2543 ให้ยาไพริเมทามีน7.5 มกกก.⁻¹ ติดต่อกันนาน 4 วัน ต่อรุ่น ทำการทดลองเช่นเดิมต่อเนื่องในไก่ 10 รุ่น ปรากฏว่ายาไม่สามารถกำจัดให้เชื้อ หมดไป แต่อัตราเฉลี่ยของระดับเชื้อในเลือดลดลงเป็นลำดับอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับ กลุ่มควบคุมที่ติดเชื้อและไม่ได้รับยา ส่วนการให้ยาไพริเมทามีน 15 และ 30 มก กก.⁻¹ ได้ทำการทดลองในไก่ที่ติดเชื้อจำนวน 3 และ 1 รุ่นตาม ลำดับ พบว่าไก่กลุ่มที่ติดเชื้อและได้รับยาไพริเมทามีน 15 มก กก⁻¹ อัตราเฉลี่ยของระดับเชื้อในเลือดต่ำมากแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) จาก ไก่กลุ่มควบคุมที่ติดเชื้อและไม่ได้ให้ยา การใช้ยาขนาด 15 และ 30 มก กก.⁻¹ มีผลข้างเคียงสูงทำให้ไก่ตายในที่สุด การศึกษายีน dhfr-ts ของเชื้อ พลาสโมเดียม กัลลินาเซียม 3 ไอโซ เลท คือ MNTH2543, BYTH2546 และ PCTH2543 ในไก่ติดเชื้อที่ไม่เคยได้รับยา และเชื้อไอโซเลท MNTH25431ในไก่ที่ติดเชื้อและให้ยาไพริเมทามีนในขนาด 1, 2 และ 4 เท่าของ MED ตามการทดลองข้างต้น ทำการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของยีน dhfr-ts ด้วยเทคนิคที่เกิดจากปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยใช้ไพรเมอร์ 2 คู่ คู่ที่ 1 ออกแบบให้ผลิตภัณฑ์ดีเอ็นเออยู่ในช่วงลำดับเบสที่ 321 ถึง 590 และคู่ที่ 2 ผลิตภัณฑ์ดีเอ็นเออยู่ ในช่วงลำดับเบสที่ 183 ถึง 1952 และทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบลำดับเบสกรดอะมิโนของผลิตภัณฑ์ที่ได้ ผลปรากฏว่า การใช้ไพรเมอร์คู่ที่ 1 ในปฏิกิริยาดังกล่าว ให้ผลิตภัณฑ์ดีเอ็นเอที่มีน้ำหนักโมเลกุลขนาด 269 เบส เท่ากันทุกตัวอย่าง กรดอะมิโนที่ตำแหน่ง 109 ของยีน dhfr-ts ของเชื้อที่ไม่เคยได้รับยาไอโซเลท MNTH2543 และ BYTH2546 และ เชื้อไอโซเลท MNTH2543 ที่ได้รับยาขนาด MED และ 2X MED มีลำดับเบสเป็น asparagine (AAC) แตกต่างกับกรดอะมิโนของเชื้อไอโซเลท PCTH2543 และเชื้อพลาสโมเดียมกัลลินาเซียม จากฐานข้อมูลของ GenBank (accession no. AY 033582) ที่มีลำดับเบสเป็น serine (AGC) จากผลที่ได้จึงคาดว่าเชื้อพลาสโมเดียมกัลลินาเซียม MNTH2543 และ BYTH2546 มียีนที่ดื้อต่อยาไพริเมทามีน สำหรับการใช้ไพรเมอร์คู่ที่ 2 ในปฏิกิริยาลูกโซ่เพื่อเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของยีน dhfr-ts ของเชื้อ พลาสโมเดียมกัลลินาเซียม ให้ผลิตภัณฑ์ดีเอ็นเอที่มีน้ำหนักโมเลกุลขนาด 1770 เบส โดยตรวจพบได้จากตัวอย่างเชื้อไอโซเลท MNTH2543 ที่ไม่เคยได้รับยาเท่านั้น สำหรับตัวอย่างอื่นๆ ยังตรวจไม่พบผลิตภัณฑ์ดีเอ็นเอ
dc.description.abstractalternative The aim of this study is to determine the efficacy of pyrimethamine on Plasmodium gallinaceum and the effect of this drug on the parasitic enzyme dihydrofolate reductase - thymidylate synthase. Two hundred and twenty 3-4 weeks old chicken were divided into 11 groups of 20 animals. There were two control groups, one was the untreated non-infected animal and the other was the untreated but infected animal. There were 9 experimental groups with the pyrimethamine treatment at various doses; 0.04, 0.1, 0.2, 0.5, 1.0, 2.5, 5.0, 7.5 and 10.0 mg kg. ⁻¹ Results indicated that the minimum effective dose (MED) of 7.5 mg kg. ⁻¹ pyrimethamine was able to diminish percentages of parasitemia at an asexual blood stage of P. gallinaceum. On the other hand, a low level of parasitemia was still detected. The following attempt was to determine the level of parasitemia of P. gallinaceum MNTH2543 after pyrimethamine treatment at the repeating dosages of MED (7.5 mg.kg⁻¹), 2 times MED (15 mg.kg⁻¹) and 4 times MED (30 mg.kg⁻¹). One hundred and twenty animals were used in this attempt. There were 2 groups of 5 animals were for the control; one was the untreated but infected control group and the other was the treated and infected animal with 7.5 mg kg⁻¹ of pyrimethamine. Animals were given the drug for 4 consecutive days then they were transferred to 10 passages. For the treatment of 15 mg.kg⁻¹ they were passaged upto 3 times. There was only one passage at the dose of 30 mg kg⁻¹ Average percentages of parasitemia when treated with 7.5 mg kg⁻¹ appeared to be significantly lower than the control group (p<0.05) but parasitemia was not completely eliminated. At the dose of 15 mg kg⁻¹, the parasitemia of the treated animals were also significantly lower than the control group (p<0.05). All chicken of the third passage treated with 15 mg kg⁻¹ and 30 mg kg⁻¹ pyrimethamine died presumably due to the toxic effect of a high dose pyrimethamine. The final attempt was to characterize the dhfr-ts gene of 3 pyrimethamine untreated P. gallinaceum; MNTH2543, BYTH2546 and PCTH2543 and one treated isolate, MNTH2543 (MED, 2X MED and 4X MED). Two different pairs of PCR primers were used to amplify the gene at position 321 - 590 bp given a PCR product of 269 bp and the second pair of the PCR primer was to amplify the gene at position 183 - 1952 bp and given a product of 1770 bp. Amino acid position 109 of MNTH2543 (untreated), BYTH2546 (untreated), and MNTH2543 (treated) was detected as asparagine (AAC). In contrast, amino acid 109 of PCTH2543 was serine (AGC) when compared to the amino acid sequence of P. gallinaceum, (Genbank accession no. AY 033582). Thus, 2 isolates of P. gallinaceum; MNTH2543, BYTH2546 were presumed to carry the resistant gene of dhfr-ts prior to the experiment. The PCR product of 1770 bp was successfully established from the P. gallinaceum MNTH2543 (pyrimethamine untreated isolate).
dc.format.extent 5501809 bytes
dc.format.extent 1668635 bytes
dc.format.extent 11906245 bytes
dc.format.extent 4785578 bytes
dc.format.extent 11415126 bytes
dc.format.extent 5159910 bytes
dc.format.extent 13576392 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ผลของยาไพริเมทามีนต่อการติดเชื้อ พลาสโมเดียม กัลลินาเซียม และ ยีน ได ไฮ โดร โฟเลทรีดักเตทไทมิไดเลทซินเทส en
dc.title.alternative Effects of pyrimethamine on plasmodium gallinaceum infection and on dihydrofolate reductase-thymidylate synthase (DHFR-TS) gene en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record