DSpace Repository

ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม : การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์และการพัฒนามาตรวัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.advisor สุภาพรรณ โคตรจรัส
dc.contributor.author ชุติมา พงศ์วรินทร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2012-11-30T08:29:45Z
dc.date.available 2012-11-30T08:29:45Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27238
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบมโนทัศน์ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบท พุทธธรรม 2) พัฒนามาตรวัดความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรมที่มีคุณลักษณะทางจิตมิติที่พึงประสงค์ และ 3) ศึกษาเกณฑ์ปกติของมาตรวัดความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพเรื่องความสุขในบริบทพุทธธรรมโดยใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงว่าเป็นผู้ที่มีความสุขในบริบทพุทธธรรม จำนวน 26 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Atlas.ti 6.2 ในการให้รหัสและจัดกลุ่มข้อมูล และ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดที่พัฒนาขึ้น และพัฒนาเกณฑ์ปกติในกลุ่มนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 1,877 คน จาก 10 มหาวิทยาลัยซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนจาก 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ LISREL ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบว่า กรอบมโนทัศน์ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรมประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความพอใจในชีวิต (2) การอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างเกื้อกูลกัน (3) การมีศรัทธาต่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องดีงาม (4) การมีใจที่สุขสงบ และ (5) การมีปัญญารู้และเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดความสุขพบว่า มีความตรงตามเนื้อหาจากการตรวจสอบของผู้ทรงคุณวุฒิ มีความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์จากการตรวจสอบกับแบบวัดปัญญา (r = .76) แบบวัดสุขภาวะทางจิต (r = .13 ถึง .53) และแบบวัดความวิตกกังวลต่อสถานการณ์เฉพาะ (r = -.60) และแบบวัดความวิตกกังวลของตนเองโดยทั่วไป (r = -.73) มีความตรงเชิงภาวะสันนิษฐานจากการเปรียบเทียบด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (t = 4.5, p < .001) และจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองพบว่าโมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X²= 74.23; df = 59; p = .087; CFI = .99; GFI = .99; AGFI = .99; SRMR = .02; RMSEA = .01; X²/df = 1.26) และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของมาตรวัดทั้งฉบับเท่ากับ .92 ผลการพัฒนาเกณฑ์ปกติพบว่ามีคะแนนทีปกติอยู่ในช่วง T16 ถึง T84 ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ ทำให้ได้เครื่องมือสำหรับใช้สำรวจ คัดกรอง และประเมินผลความสุขที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของสังคมและวัฒนธรรมไทย ตลอดจน สามารถนำกรอบมโนทัศน์ที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความสุขสำหรับนิสิตนักศึกษาที่กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาตนให้เป็นผู้ที่มีความสุขได้ต่อไป en
dc.description.abstractalternative This mixed-method research aimed to 1) explore conceptual framework of happiness among undergraduate students in the context of Buddha Dhamma, 2) develop Happiness Scale as a result, and 3) establish the norms of the scale. The 1st phase was a qualitative study on happiness in the context of Buddha Dhamma through in-depth interviews with 26 purposely chosen undergraduate students. Data were analyzed through grouping of similar themes with ATLAS.ti 6.2, while the 2nd phase involved scale development, assessment, and norm establishment among 1,877 undergraduate students from 10 universities in five regions of Thailand, gathered via the multistage random sampling. Data were analyzed by SPSS for Windows and LISREL. The final outcome is the conceptual framework of happiness among undergraduate students developed from qualitative data composed of five components: 1) life satisfaction, 2) interdependence, 3) faith in life of integrity, 4) peaceful mind, and 5) wisdom and understanding of the truth of life. The evaluation of the technical adequacies of this scale revealed 1) content validity as affirmed by the guest specialists, 2) criterion related validity was tested against PAÑÑĀ Scale (r = .76), Psychological Well-Being Scale (r = .13 to .53), STAI Form Y-1 (A-State) (r = -.60), and STAI Form Y-2 (A-trait) (r = -.73), 3) construct validity was confirmed by the known-group technique (t = 4.5, p < .001) and the second order confirmatory factor analysis. The second order confirmatory factor analysis revealed that the model developed fitted with the empirical data (X²= 74.23; df = 59; p = .087; CFI = .99; GFI = .99; AGFI = .99; SRMR = .02; RMSEA = .01; X²/df = 1.26), and 4) the overall Cronbach’s alpha coefficient was at .92. The norm development yielded the Normalized T–Score range of T16-T84. The findings from this study resulted in an instrument for exploration, screening, and assessment of happiness relevant to the context of Buddha Dhamma and Thai culture. This conceptual frame can also serve as a guideline to develop happiness among students during their period of personal growth. en
dc.format.extent 4770742 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1942
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความสุข en
dc.subject คุณภาพชีวิต en
dc.subject นักศึกษา en
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en
dc.title ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม : การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์และการพัฒนามาตรวัด en
dc.title.alternative Happiness of university students in the context of Buddha Dhamma : empirical investigation and scale development en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline จิตวิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Arunya.T@Chula.ac.th
dc.email.advisor Supapan.K@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1942


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record