dc.contributor.author | ศรีสอาด ตั้งประเสริฐ | |
dc.contributor.author | เสรี เศวตเศรนี | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภูมิศาสตร์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า | |
dc.date.accessioned | 2006-09-23T03:30:46Z | |
dc.date.available | 2006-09-23T03:30:46Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2741 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ได้แก่ การสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ เพื่อจำลองระบบการผลิตระดับไร่นาในเขตจัดรูปที่ดินโครงการชัณสูตร ในพื้นที่โครงการชลประทานลุ่มเจ้าพระยาตอนบน แบบจำลองนี้เปรียบเสมือนห้องทดลอง เพื่อวางแผนพัฒนา นโยบายพัฒนาเกษตรกรรมจะถูกนำมาทดสอบกับแบบจำลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมของระบบอันสืบเนื่องจากการใช้นโยบาย เทคนิคการซีมูเลชั่น ช่วยให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของระบบเป็นขั้นๆ ตามลำดับเวลา และช่วยให้สามารถทำการเปรียบเทียบผลของนโยบายได้อย่างละเอียด วิธีการที่ใช้ เรียกว่า System Dynamics แบบจำลองแสดงด้วยภาษา Dynamo ประกอบด้วยระบบย่อย ๑๓ ระบบ การวิเคราะห์ได้ใช้นโยบายเกี่ยวกับอัตราการคืนทุนการจัดรูปที่ดิน ประชากร การจัดพืชเพาะปลูก รายได้นอกการเกษตร นโยบายเงินกู้ระยะสั้น และสินเชื่อปัจจัยการผลิต ฯลฯ ผลการทดสอบนโยบายแสดงค่าตัวแปรในเรื่อง การจ้างงาน น้ำชลประทาน เครื่องจักรการเกษตรงบประมาณ ภาวะหนี้สิน ฯลฯ อยู่ในตารางและกราฟ ๒๐ ปี ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ การสร้างงานนอกการเกษตรเป็นนโยบายช่วยเหลือระบบเศรษฐกิจของครัวเรือนเกษตรที่ได้ผลอย่างยิ่ง โครงการช่วยเหลือด้านเงินกู้ระยะสั้นและสินเชื่อปัจจัยการผลิต อาจยังผลให้มูลค่าหนี้สินของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น สำหรับนโยบายกำหนดเนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังเพียงร้อยละ ๓๐ ของพื้นที่ปรากฎว่า รายได้จากผลผลิตรวมกับรายได้จากข้าวนาปีปลูกเต็มเนื้อที่ และรายได้นอกการเกษตรไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทต่อปี แทบจะไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและการผ่อนชำระค่าจัดรูปที่ดิน ซึ่งรัฐบาลต้องช่วยออกบางส่วนอยู่แล้ว ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ พบว่าเนื้อที่ถือครองต่อครัวเรือนไม่ควรต่ำกว่า ๒๐ ไร่ การทดสอบแสดงให้เห็นว่าอ้อยเป็นพืชทดแทนที่ดีถ้ามีน้ำจำกัด เพราะรายได้ต่อปริมาณน้ำที่ใช้ของอ้อยสูงกว่าข้าว | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to construct an operational computer model to represent the on-farm production system of the chanasutr land consolidation project, location within the upper Chao Phraya Basin Irrigation Scheme. Agricultural development policies are to be applied to the model which serves as a development planning laboratory, to learn how they govern the behavior of the system. Simulation technique enables the tracing of the system behavior step-by-step through time and the comprehensive comparisons of alternative policies. The methodology used is called System Dynamics. The model, expressed in Dynamo language, comprises 13 subseptems. Policies on land consolidation repayment rate, population, cropping pattern, off-farm income, short-term loan and farm-input price subsidy, etc. are used for analysis. More than one hundred output variables pertaining to employment, irrigation, farm machinery, budget, debts, etc., are presented in tables and time-series plots (20 years). Some of the significantfindings : creation of off-farm income proved to be one of the most effective policies. Aids in term of short-term loan and farm-input price subsidy may aggravate farm indebtedness. Revenue from a full-scale wet-season rice production and dry-season rice production in only 30 percent of the area, plus an annual off-farm income of less than 10,000 bahts, is barely enough for family expenditure and the repayment of the heavily subsidized land consolidation project. And under this condition, the land-holding size per family should not be less than 20 rais (3.2 hectares). Sugarcane is proved to be a good substitute crop when water is limited because of its higher income per unit of water consumption. | en |
dc.description.sponsorship | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 64763457 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การพัฒนาการเกษตร | en |
dc.title | รายงานผลการวิจัยแบบจำลองการพัฒนาเกษตรกรรมโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนระยะสอง ที่โครงการชัณสูตร | en |
dc.title.alternative | แบบจำลองการพัฒนาเกษตรกรรมโครงการพัฒนาเกษตรชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนระยะสองที่โครงการชัณสูตร | en |
dc.title.alternative | Agricultural development simulation model : a case study, the upper Chao-Phraya irrigation | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Srisard.T@Chula.ac.th |