DSpace Repository

การวิเคราะห์ตำนานสร้างโลกของคนไท : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ศิราพร ณ ถลาง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาภาษาไทย
dc.date.accessioned 2006-09-23T03:54:57Z
dc.date.available 2006-09-23T03:54:57Z
dc.date.issued 2539
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2744
dc.description ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของคนไทแต่ละกลุ่ม : ไทใหญ่-ไทอาหม ; ไทลื้อ ; ไทเขิน ; ไทยวน-ล้านนา ; ลาว-ล้านช้าง ; อีสาน ; ไทดำ-ไทขาว ; จ้วง -- แหล่งที่มาของตำนานการสร้างโลกของคนไทสำนวนต่างๆ -- ตำนานสร้างโลกในฐานะเป็นเครื่องบอกความสัมพันธ์ ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชนชาติไท -- ความคิดเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติกับจริยธรรมในทัศนะของคนไท -- การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมของคนไทกับพุทธศาสนา -- วัฒนธรรมข้าวในฐานะที่เป็นส่วนร่วมของชนชาติไท -- ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทกับคนชาติพันธุ์อื่นๆ -- ตำนานสร้างโลกของคนไทเปรียบเทียบกับ ตำนานสร้างโลกในวัฒนธรรมอื่น en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบตำนานสร้างโลกของคนไทยกลุ่มต่างๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศไทย อันได้แก่ ไทอาหม ไทใหญ่ ไทลื้อ ไทเขิน ไทยวน-ล้านนา อีสาน ลาว ไทดำ ไทขาว และจ้วง ทั้งนี้โดยใช้วิธีการทางคติชนวิทยาและมานุษยวิทยาในการศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของตำนานสร้างโลกของคนไททั้งสำนวนบอกเล่าและสำนวนลายลักษณ์ที่รวบรวมมาได้ 50 สำนวน เพื่อวิเคราะห์ความเชื่อดั้งเดิมของคนไทเกี่ยวกับการสร้างโลกการสร้างมนุษย์ และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมของคนไทแต่ละกลุ่ม โดยพิจารณาจากความแตกต่างและความเหมือนคล้ายของตำนานสร้างโลกของคนไทยแต่ละกลุ่ม การวิเคราะห์โครงสร้างของตำนานสร้างโลกของคนไทด้วยระเบียบวิธีทางคติชนวิทยา ทำให้แยกประเภทของตำนานสร้างโลกได้ 3 แบบเรื่อง คือ แบบเรื่องประเภทปู่สังกะสา-ย่าสังกะสีสร้างโลก แบบเรื่องประเภทมนุษย์ออกมาจากน้ำเต้า และแบบเรื่องประเภทเทวดาลงมากินง้วนดิน แบบเรื่องประเภทปู่-ย่าสร้างโลกพบมากในกลุ่มตำนานไทลื้อ ไทเขิน ไทยวน-ล้านนา และอีสาน แบบเรื่องประเภทมนุษย์ออกมาจากน้ำเต้าพบมากในกลุ่มตำนานลาว ไทดำ ไทขาว และแบบเรื่องเทวดาลงมากินง้วนดินพบในตำนานทางล้านนา และตำนานไทใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งแบบเรื่องประเภทหลังนี้ได้อิทธิพลความเชื่อทางพุทธศาสนาเข้าไปผสมผสมน ส่วนตำนานสร้างโลกของไทอาหม ซึ่งนับเป็นชนชาติไทที่อยู่ตะวันตกสุด กับตำนานของจ้วงซึ่งอยู่ทางตะวันออกสุด แม้โครงเรื่องจะไม่ตรงทีเดียวนักกับแบบเรื่องทั้ง 3 แบบซึ่งพบในตำนานสร้างโลกส่วนใหญ่ของชนชาติไท แต่ก็ยังคงปรากฏแนวคิดเรื่องมีผู้สร้างโลก มีผู้สร้างมนุษย์ ซึ่งแนวคิดเช่นนี้ได้เลือนไปจากความเชื่อของคนไทยภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งได้รับอิทธิพลพุทธศาสนามากแล้ว การวิเคราะห์เนื้อหาของตำนานสร้างโลกของคนไทสะท้อนระบบคิดและวัฒนธรรมของคนไทหลายประการ ประการแรก ชี้ให้เห็นว่าคนไทดั้งเดิมที่กระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ ตอนเหนือของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล้วนมีความเชื่อดั้งเดิมเรื่องมีผู้สร้างโลก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของปู่สังกะสา-ย่างสังกะสีสร้างโลก สร้างมนุษย์ หรือปู่แถนที่นำน้ำเต้าที่บรรจุมนุษย์ไว้ลงมายังโลก ประการที่สอง ตำนานสร้างโลกของคนไทไม่ว่าจะเป็นแบบเรื่องแบบใด สะท้อนระบบคิดและความเชื่อที่อธิบายให้เห็นว่าคนไทเป็น "ลูกฟ้า" มีชาติกำเนิดและความสัมพันธ์กับสวรรค์ตำนานของคนไทบางกลุ่มเน้นให้เห็นว่า ผู้ปกครองบ้านเมืองเป็นผู้ที่ถูก "ฟ้าส่งมา" หรือสืบเชื้อสายมาจากเทวดาบนสวรรค์ ในแง่นี้ตำนานสร้างโลกจึงเป็นสิ่งอธิบายสถานภาพทางสังคมของคนไทและผู้ปกครองที่เป็นชาติพันธุ์ไท ประการที่สาม ตำนานสร้างโลกของคนไทเกือบทุกกลุ่มสอดแทรกเนื้อหาเรื่องปู่-ย่าง หรือแถนสอนให้คนไททำนาปลูกข้าว เป็นหลักฐานที่ทำให้เห็นว่าวัฒนธรรมข้าวเป็นสิ่งที่เป็นแก่นและอยู่คู่กับวัฒนธรรมของคนไทมาตั้งแต่ดั้งเดิม ประการที่สี่ ตำนานของกลุ่มลาว ไทดำ ไทขาวสะท้อนวิถีชีวิตและปริบททางสังคมที่คนไทต้องสัมพันธ์กับคนชาติพันธุ์อื่นๆ จึงอธิบายกำเนิดมนุษย์ในลักษณะที่เป็นพี่น้องกับคนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่ออกมาจากน้ำเต้าเดียวกัน อย่างไรก็ตามตำนานก็สะท้อนระบบคิดที่จำแนกคนไท-ลาว ออกจากคนชาติพันธุ์อื่นๆ ที่เป็นข่า ขมุ ลาว แกว ฮ่อ ในแง่นี้ตำนานจึงเป็นสิ่งสะท้อนเอกลักษณ์ชาติพันธุ์ไทว่า "ไท" ต่างจากคนชาติพันธุ์อื่นอย่างไรด้วย จากการวิเคราะห์บริเวณที่มีการกระจุกตัวอย่างหนาแน่นของตำนานสร้างโลกทั้ง 3 แบบ เรื่องหลักพบว่า บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลางกินอาณาเขตตั้งแต่ตอนใต้ของจีน ตอนเหนือของไทย ตอนเหนือของลาวเป็น "ชุมทาง" ที่เป็นแหล่งปะทะสังสรรค์ของชนชาติไทหลายกลุ่ม แม้บริเวณดังกล่าวอาจจะไม่ใช่แหล่งกำเนิดของคนไท แต่หลักฐานจากตำนานสร้างโลกบอกเราว่าเป็นชุมทางวัฒนธรรมแหล่งสำคัญของชนชาติไทที่สามารถศึกษาประวัติศาสตร์ ร่องรอยของวัฒนธรรมดั้งเดิม ตลอดจนพัฒนาการทางวัฒนธรรมความคิด ความเชื่อของคนไท งานวิจัยเรื่องนี้พยายามจะชี้ให้เห็นความสำคัญของตำนานในฐานะที่เป็นข้อมูลที่จะใช้ศึกษาเรื่องชนชาติไท ทั้งในเรื่องความคิด ความเชื่อ การกระจายของคนไท และความสัมพันธ์ของคนไทกลุ่มต่างๆ ในทำนองเดียวกันกับที่นักวิชาการในสาขาอื่นๆ พยายามใช้หลักฐานทางด้านภาษา ความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณี ลายผ้าสิ่งทอ ฯลฯ ในการศึกษาความสัมพันธ์ของชนชาติไท en
dc.description.abstractalternative This research aims at studying and comparing the creation myths of the Tai speaking peoples inhabiting both inside and outside Thailand, namely Tai Ahom, Tai Yai, Tai Lue, Tai Khoen, Tai Yuan-Northern Tai, Isan, Lao, Black Tai, White Tai and Zhuang. The researcher uses folklore and anthropological approach in studying the structure and content of the 50 collected versions of Tai creation myths, both oral and literary. The purpose of the study is to analyze Tai indigenous beliefs about the creation of the world and human beings and to draw the cultural relations among Tai peoples from the differences and the similarities of their creation myths. By using folklore research methodology to analyze the structure of Tai creation myths, the researcher categorizes Tai creation myths into three main myth types: first, stories about "Pu Sangasa-Ya Sangasi" (Grandfather Sangasa-Grandmother Sangasi) as the world and human creators; second, stories about the sacred gourd as the origin of peoples; and third, stories about "Devada" (Hindu or Buddhist deities) eating the fragrant soil and becoming the ancestors of human beings. The first myth type mostly exists in the creation myths of Tai Lue, Tai Khoen, Tai yuan, and Isan. The second type is mostly told in Lao, Black Tai and White Tai creation myths. And the third type is mostly found in the creation myths of Tai Yuan and Tai Yai in Thailand. Although the plots of Tai Ahom and Zhuang creation myths do not quite conform with the three mentioned myth types, there exist the beliefs in the creators of the world and human beings which had long been disappeared from the beliefs of Central Thai and Southern Thai people in Thailand. The content analysis of Tai creation myths reflects Tai conceptual and cultural systems in certain interesting aspects. Firstly, no mater where Tai peoples live in the northern part of Southeast Asia, they all have indigenous beliefs in world creators, either in the form of Pu Sangasa-Ya Sangasi creating the world and human beings, or Pu Thaen (Sky God)who brought the sacred gourd containing human beings to the world. Secondly, all three Tai creation myth types reflect the belief that Tai peoples are "Luk Fa," or children of the heaven, or having the origin or certain relationship with heaven. Creation myths of certain groups of Tai peoples emphasize that the ruler class was "sent by God," or descended from heaven. In this respect, Tai creation myths can then be used as the cultural explanation of the social status of the Tai peoples and the Tai rulers. Thirdly, creation myths of all Tai groups also mention the origin of rice or rice growing traditions by telling that "Pu Sangasa-Ya Sangsasi" taught how to grow rice to Tai peoples. This then acts as evidence that rice growing has long been the main subsistence and way of life of the Tai peoples. And fourthly, the creation myths of Lao, Black Tai and White Tai reflect the cultural environment that Tai have had to interact with other ethnic groups in such a way that they explain their origin together with other ethnic groups from the same sacred gourd. Nevertheless, these creation myths differentiate the characteristics of the Tai from other ethnic groups such as Kha, Khamu, Lao, Viet, and Chinese. Accordingly, the myths reflect the ethnic identity of Tai peoples. The analysis of the places where we found the three types of Tai creation myths insightfully reveals that both sides of the Central Mekong River, starting from south China, through north Thailand and down along northern Laos could be an important "junction" where various groups of Tai peoples clustered and socially interacted. Though this area may not be the place of origin of Tai speaking peoples, indications from Tai creation myths suggest that the area around the central Mekong River must have been a significant cultural junction of Tai speaking peoples and is where scholars should pay particular attention to if one is to study Tai history, Tai cultural traits including development of Tai thoughts and belief systems. This research is also an attempt to exemplify how myths can be used as data to study Tai peoples whether about their belief system, the distribution of Tai peoples or the cultural relations among certain groups of Tai peoples. In other words, the researcher wants to show how folklore can be regarded as useful materials as well as languages, textiles, certain beliefs, rituals traditions, etc., in the studying of Tai peoples. en
dc.description.sponsorship ทุนสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช en
dc.format.extent 23540085 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การสร้างโลก en
dc.subject ตำนาน en
dc.subject ชาวไท--ความเป็นอยู่และประเพณี en
dc.title การวิเคราะห์ตำนานสร้างโลกของคนไท : รายงานการวิจัย en
dc.title.alternative An analysis of the creation myths of the Tai speaking peoples en
dc.type Technical Report en
dc.email.author Siraporn.N@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record