DSpace Repository

มโนทัศน์ความสุขของเด็กไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor เรวดี วัฒฑกโกศล
dc.contributor.author ศุภสุตา สุขเจริญผล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2012-12-13T02:43:33Z
dc.date.available 2012-12-13T02:43:33Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27585
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์ความสุขของเด็กไทยใน 3 ด้าน คือ ด้านนิยามของความสุข ด้านลักษณะที่บ่งบอกถึงคนที่มีความสุข และด้านที่มาของความสุข โดยศึกษาว่ามโนทัศน์ความสุขของเด็ก เป็นความสุขในรูปแบบใดระหว่างความสุขที่มาจากภายในและความสุขที่มาจากภายนอก ด้วยวิธีการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างรายบุคคล ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเด็กระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ประถมศึกษาปีที่ 3 และประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มาจากครอบครัวพ่อแม่อยู่ด้วยกันและครอบครัวพ่อแม่หย่าร้าง ผลการวิจัยพบว่า มโนทัศน์ความสุขของเด็กใน 3 ช่วงวัยมีรูปแบบของความสุข ที่มาจากภายในมากกว่า และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้นใน 2 ด้าน คือ ด้านนิยามของความสุข (F(2, 166) = 4.09, p < .05) และด้านลักษณะที่บ่งบอกถึงคนที่มีความสุข (F(2, 172) = 30.66, p < .001) ในขณะที่มโนทัศน์ด้านที่มาของความสุข กลับมีรูปแบบของความสุข ที่มาจากภายนอกอย่างชัดเจน และไม่แตกต่างกันในทุกกลุ่มวัย ผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ครอบครัวพ่อแม่อยู่ด้วยกันและครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกัน พบความแตกต่างเพียงด้านเดียว คือ มโนทัศน์ในด้านลักษณะที่บ่งบอกถึงคนที่มีความสุข โดยกลุ่มที่อยู่ในครอบครัวพ่อแม่หย่าร้างกันให้คำตอบในรูปแบบของความสุข ที่มาจากภายใน มากกว่ากลุ่มครอบครัวพ่อแม่อยู่ด้วยกัน (t(173) = 2.27, p<.05) en
dc.description.abstractalternative The purposes of this research were to study concepts of happiness of Thai children in term of intrinsic and extrinsic answers during the individual interview. Three concepts of happiness were included in this study; Definitions of happiness, characters of a happy person, and causes of happiness. Participants were 176 Thai students from kindergarten, third grade, and sixth grade, from divorced and traditional families. The results showed developmental trend in children’s concepts of happiness. The older the children, the higher percentage of intrinsic answers on definitions of happiness (F(2, 166) = 4.09, p < .05) and characters of a happy person (F(2, 172) = 30.66, p < .001). There was no age trend found for causes of happiness with the result clearly showed very high percentage of extrinsic answers for all group. Only one difference on concepts of happiness between family groups was found in this study. The children from divorced family had significantly higher percentage of intrinsic answer on the characters of a happy person. (t(173) = 2.27, p < .05). en
dc.format.extent 1788116 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1417
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความสุขในเด็ก -- ไทย en
dc.subject จิตวิทยาเด็ก en
dc.title มโนทัศน์ความสุขของเด็กไทย en
dc.title.alternative Concepts of happiness of Thai children en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาพัฒนาการ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Rewadee.W@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1417


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record