Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างการเมืองของรัฐกับอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และศึกษาการแข่งขันทางอัตลักษณ์ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงมานุษยวิทยา (Anthropological Research)โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการลงพื้นที่ภาคสนาม (Field Work) แบ่งเป็นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งสิ้น 25 คน ประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำจำนวน 5 คนบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 10 คนชาวบ้านซึ่งเป็นคนไทยทรงดำในอำเภอเขาย้อย จำนวน 10 คนซึ่งการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีสุ่มเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และอาศัยการสอบถามต่อๆกัน (Snow Ball Technique)วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร จากการลงพื้นที่ภาคสนาม และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นโยบายทางการเมืองของภาครัฐก่อนพุทธศักราช 2475 และหลังพุทธศักราช 2475 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ทั้งในลักษณะของความยินยอมและถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนการแข่งขันทางอัตลักษณ์ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำอำเภอเขาย้อย เป็นปรากฏการณ์ช่วงชิงนิยามความหมายของการเป็นไทยทรงดำแท้ เพราะอัตลักษณ์ของไทยทรงดำในปัจจุบันเริ่มถูกกลืนกลาย ชาวไทยทรงดำจึงพยายามหาจุดยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองผ่านการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ