DSpace Repository

การเมืองเรื่องชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ของไทยทรงดำ : ศึกษากรณี อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศิริรัตน์ แอดสกุล
dc.contributor.author เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-12-25T04:17:50Z
dc.date.available 2012-12-25T04:17:50Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28110
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างการเมืองของรัฐกับอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และศึกษาการแข่งขันทางอัตลักษณ์ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เป็นการวิจัยเชิงมานุษยวิทยา (Anthropological Research)โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการลงพื้นที่ภาคสนาม (Field Work) แบ่งเป็นการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม (Non Participant Observation) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีทั้งสิ้น 25 คน ประกอบด้วยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทยทรงดำจำนวน 5 คนบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 10 คนชาวบ้านซึ่งเป็นคนไทยทรงดำในอำเภอเขาย้อย จำนวน 10 คนซึ่งการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญใช้วิธีสุ่มเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และอาศัยการสอบถามต่อๆกัน (Snow Ball Technique)วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร จากการลงพื้นที่ภาคสนาม และจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้วิธีการเขียนเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า นโยบายทางการเมืองของภาครัฐก่อนพุทธศักราช 2475 และหลังพุทธศักราช 2475 ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ของชาวไทยทรงดำ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี ทั้งในลักษณะของความยินยอมและถูกบังคับให้ต้องปฏิบัติตาม ส่วนการแข่งขันทางอัตลักษณ์ภายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำอำเภอเขาย้อย เป็นปรากฏการณ์ช่วงชิงนิยามความหมายของการเป็นไทยทรงดำแท้ เพราะอัตลักษณ์ของไทยทรงดำในปัจจุบันเริ่มถูกกลืนกลาย ชาวไทยทรงดำจึงพยายามหาจุดยืนของกลุ่มชาติพันธุ์ตนเองผ่านการแสดงออกในรูปแบบต่างๆ en
dc.description.abstractalternative This research objective is to study the relation between politics and ethnic identity of ThaisongdamKhaoyoi district, Phetchaburi province and study the identity competition in Thaisongdam ethnic group Khaoyoi district, Phetchaburi province. The methodology of this research isanthropological research. Based mainly on documentary research, In-depth Interview and fieldwork. Which are participant observation and non participantobservation. There are 25 key informant of this research are expert in Thaisongdam cultural 5 person, local administrative personal 10 person and Thaisongdam people in Khaoyoi district 10 person. Choosing key informant by purposive sampling and snow ball technique.Data analysis from documentary research, field work and key informants by description. The research result showed that politic policy before and after 1932 have an affected on identity changed of ThaisongdamKhaoyoi district.Both in consent and hard-pressed.The competition of identity in Thaisongdam ethnic group Khaoyoi district is appearance of snatch the meaning of Thaisongdam truly because identity of Thaisongdam in the present has been integrated gradually.So,They are try to find standpoint of them ethnic group with many expression. en
dc.format.extent 3540791 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1451
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ en
dc.subject ชาติพันธุ์วิทยา -- ไทย -- เพชรบุรี en
dc.subject ชนพื้นเมือง -- ไทย -- เพชรบุรี en
dc.subject กลุ่มชาติพันธุ์ -- ไทย -- เพชรบุรี en
dc.title การเมืองเรื่องชาติพันธุ์และอัตลักษณ์ของไทยทรงดำ : ศึกษากรณี อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี en
dc.title.alternative Politics of ethnicity and ethnic identity of thaisongdam : a case study of Khaoyoi district, Phetchaburi province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สังคมวิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sirirath.a@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1451


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record