Abstract:
นับตั้งแต่มีการริเริ่มใช้อาเซียนพีทีเอ แต่ก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้มีการกระตุ้นการขยายตัวทางการค้าภายในภูมิภาค วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งที่จะศึกษาถึงผลกระทบของการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรที่มีต่อการส่งเสริมการค้าไทย-อาเซียน ตลอดจนวิเคราะห์ให้เห็นถึง อุปสรรคที่ขัดขวางการเจริญเติบโตทางการค้าไทย-อาเซียน ในการศึกษาถึงความร่วมมือทางการค้าไทยกับอาเซียนนี้ ได้ใช้กรอบแนวความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้น ฐานของทฤษฎีความร่วมมือส่วนภูมิภาค รวมทั้งมีการนำเอาแนวความคิดในเรื่องความร่วมมือส่วนภูมิภาค มาประยุกต์ใช้กับความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-อาเซียนเละนำมาใช้ในการคาดคะเนแนวโน้มในอนาคตของความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-อาเซียนว่าจะสามารถร่วมมือกันในระดับที่แข็งแกร่งมากกว่าเดิมได้หรือไม่ ผลของการวิจัยพบว่า มาตรการการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรไม่มีประสิทธิภาพ เพียงพอที่จะกระตุ้นทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าไทย-อาเซียน ทั้งนี้เนื่องจากวิธีการแลกเปลี่ยนแบบเป็นรายสินค้าได้ประสิทธิภาพและเป็นการสูญเสียเวลาเปล่า ส่วนวิธีการแลกเปลี่ยนแบบทุกรายสินค้าก็ต้องประสบกับปัญหาที่สำคัญ 3 ประการด้วยกัน คือ การคงไว้ซึ่งรายการสงวนสิทธิในการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากรแก่สินค้าที่ง่ายต่อการได้รับผลกระทบ วิธีการลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากรไม่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการค้าไทย-อาเซียน อีกทั้งสินค้าที่จะได้รับสิทธิพิเศษฯต้องถูกต้องตามกฎว่าด้วยเรื่องแหล่งกำเนิด ของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้า ตลอดจนการนำเอามาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากรมาใช้ สำหรับการปรับปรุงให้มาตรการอาเซียนพีทีเอเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการขยายความ ร่วมมือทางการค้าไทย-อาเซียนนั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเพิ่มอัตราการลดหย่อนทางภาษีศุลกากรให้มากขึ้นกว่า เดิมแล้ว แต่ยังต้องให้มีการครอบคลุมชนิดของสินค้าที่สำคัญและส่งผลต่อการค้าไทยอาเซียนไว้ในรายการ อาเซียนพีทีเอด้วย ขั้นแรกนั้นควรที่จะจัดให้มีการประชุมสุดยอดผู้นำของบรรดาประเทศสมาชิกให้เร็วที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพื่อที่จะคิดหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับความร่วมมือทางการค้าของอาเซียน