dc.contributor.advisor | ชลัยพร อมรวัฒนา | |
dc.contributor.author | สุรพันธุ์ เล้าวิวัฒนา | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2013-02-08T16:04:27Z | |
dc.date.available | 2013-02-08T16:04:27Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28809 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและลักษณะการทำงาน ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำงานและปัจจัยที่มีผลต่อค่าจ้างของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่หนึ่งเป็นการศึกษาเชิงพรรณาโดยอาศัยข้อมูลจากงานศึกษาที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดประชุมกลุ่มย่อย ในส่วนที่สอง เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2550 ที่จัดเก็บโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยใช้แบบจำลองลอจิตเข้ามาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์การตัดสินใจทำงานของผู้สูงอายุและใช้วิธีการประมาณค่า Maximum likelihood (ML) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อค่าจ้างของผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่เข้าร่วมในกำลังแรงงานคิดเป็นร้อยละ 20 ของผู้สูงอายุทั้งหมด โดยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับประถมศึกษา ประกอบธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างและส่วนใหญ่ทำงานทุกวัน วันละ 7-8 ชั่วโมง สำหรับผลการจัดประชุมกลุ่มย่อยนั้น ชี้ว่าการสนับสนุนผู้สูงอายุให้เข้าร่วมในกำลังแรงงานจะไม่มีอุปสรรคใดๆ หากมีการปรับลักษณะงานให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ แต่สำหรับการขยายอายุเกษียณของข้าราชการต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทำงานทั้งของผู้สูงอายุและผู้ที่จะเข้าสู่วัยสูงอายุ ได้แก่ อายุ เพศ สถานภาพสมรส การศึกษา สุขภาพ เงินบำเหน็จบำนาญ เงินออมและดอกเบี้ย เบี้ยยังชีพ หนี้สิน การให้เงินบุตร การได้รับเงินจากบุตร โดยปัจจัยที่ส่งอิทธิพลให้ผู้สูงอายุต้องการทำงานมากที่สุด ได้แก่ เบี้ยยังชีพที่ไม่เพียงพอ การให้เงินบุตรและสุขภาพที่เอื้ออำนวยตามลำดับ ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่ต้องการเข้าร่วมในกำลังแรงงาน ได้แก่ เงินบำเหน็จบำนาญ การได้รับเงินจากบุตร เงินออมและดอกเบี้ย นอกจากนี้ในงานศึกษายังพบว่า อายุ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา สุขภาพ อาชีพ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อค่าจ้างของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ มาตรการและนโยบายของภาครัฐว่าควรมีความสอดคล้องเหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานควรมีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยสูงอายุ โดยการสะสมเงินออมในวัยทำงาน และพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ในตัวเองอย่างต่อเนื่อง | en |
dc.description.abstractalternative | The work is aimed to study the form and pattern of Bangkok elders’ work, and factors which influence their pay rate and their working decision. The study is divided into two sections. The first part is a descriptive research, using data from previous related studies, and holding focus-group meetings. The second part is an analysis of the data from the survey on Thai elder people in 2006, conducted by the National Statistical Office of Thailand by using Logit Model as a tool to analyze Bangkok elders’ working decision, and Maximum Likelihood Estimation to study the factors which affect the elders’ pay rate The study reveals that 20% of elders participate in labour force, mostly male and primarily educated. They mostly operate their own business, work 7-8 hours everyday, and recruit no employee. The focus-group meetings come to a conclusion that, if the job specification adjusted to suit aging people, there will be no obstacle to urging them into labor force; however, the extension of the bureaucrat’s retire age should be carefully speculated. The factors determining working decision of aged and aged-to-be are their age, sex, marital status, education, pension, savings and interest, government living allowance, debt, and how much they have to give to or receive from their children. The reasons which encourage elders to work the most are inadequate government living allowance, money give to descendant and good health respectively. The factors not convincing elders to participate workforce are pension, money earn from descendant, saving and interest. Additionally, the study shows age, sex, marital status, education, health, and occupation are factors that influence the elders pay rate statistically. Finally, the study also suggests that government should authorize measures and policies which suit to capability and need of the elders. Moreover, current labor forces are recommended to be prepared for elder period by building up saving in working age and develop their capacity continuously. | en |
dc.format.extent | 1314900 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1073 | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แรงงาน | en |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | en |
dc.title | การศึกษาการเข้าร่วมในกำลังแรงงานของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | The study of labour force participation of the elderly in Bangkok | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chalaiporn.A@chula.ac.th | |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.1073 |