DSpace Repository

พยาธิกำเนิดของไวรัสพีอีดีสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทยหลังจากทำให้อ่อนกำลังผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงในลูกสุกรที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลือง

Show simple item record

dc.contributor.advisor คมกฤช เทียนคำ
dc.contributor.advisor รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช
dc.contributor.author สิทธิกร ไตรยราช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-03-02T08:06:20Z
dc.date.available 2013-03-02T08:06:20Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29212
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพยาธิกำเนิดของเชื้อไวรัสพีอีดีที่แยกได้ในประเทศไทยหลังจากทำให้อ่อนกำลังลงโดยผ่านการเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด Vero cells ลูกสุกรอายุ 1 วันที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองจำนวน 28 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (จำนวน 12 ตัว) ป้อนด้วยเชื้อไวรัสพีอีดีชนิดอ่อนแรงที่ผ่านการเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงจำนวน 53 รอบ (กลุ่มเชื้ออ่อนแรง) กลุ่มที่ 2 (จำนวน 12 ตัว) ป้อนด้วยเชื้อไวรัสพีอีดีที่ผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงจำนวน 1 รอบ (กลุ่มเชื้อรุนแรง) กลุ่มที่ 3 (จำนวน 4 ตัว) ป้อนด้วยอาหารเลี้ยงเชื้อเพียงอย่างเดียว (กลุ่มควบคุมลบ) หลังจากป้อนเชื้อไวรัส สังเกตอาการทางคลินิกทุก 6 ชั่วโมง ทำการการุณยฆาต ที่ 12 24 36 และ 72 ชั่วโมงหลังการป้อนเชื้อ ศึกษารอยโรคทางมหกายวิภาค รอยโรคทางจุลพยาธิวิทยา อัตราส่วนวิลไล/ความลึกของคริป (Villi height/Crypt depth, VH/CD) ในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม และไอเลียม ตรวจหาสารพันธุกรรมบางส่วนของยีน S ของเชื้อไวรัส และหาปริมาณเชื้อไวรัสพีอีดีด้วยวิธี viral titration ณ เวลา ที่ 24 ชั่วโมงหลังการป้อนเชื้อพบว่า ลูกสุกรกลุ่มที่ 1 พบสุกรมีอาการท้องเสียน้อยกว่าสุกรกลุ่มที่ 2 รอยโรคทางมหกายวิภาคพบว่าสุกรกลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 มีรอยโรคคล้ายกัน แต่สุกรกลุ่มที่ 1 มีความรุนแรงของรอยโรคน้อยกว่า สำหรับคะแนนรอยโรคทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าในกลุ่มที่ 2 มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ 1 ในสุกรที่มีรอยโรครุนแรงพบ การหดสั้นของวิลไล การเข้ามาของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ และการลอกหลุดของเซลล์เยื่อบุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม และไอเลียม สอดคล้องกับอัตราส่วน VH/CD ที่พบว่า อัตราส่วน VH/CD ในลำไส้เล็กส่วนไอเลียมของกลุ่มที่ 1 จะมีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 2 ที่ 24 และ 36 ชั่วโมงหลังการป้อนเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) พบสารพันธุกรรมบางส่วนของยีน S จากตัวอย่างที่เก็บจากสุกรทั้ง 2 กลุ่ม และพบปริมาณเชื้อไวรัสในทั้ง 2 กลุ่ม แต่ในกลุ่มที่ 2 จะมีปริมาณที่สูงกว่า จากการทดลองสามารถสรุปได้ว่า เชื้อไวรัสพีอีดีที่ผ่านการเพาะเลี้ยงใน Vero cells จำนวน 53 รอบ ยังสามารถทำให้เกิดลำไส้อักเสบ และท้องเสียในสุกรที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลือง แต่พบความรุนแรงของการอักเสบของลำไส้ และการหดสั้นของวิลไลน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับเชื้อไวรัสพีอีดีที่ผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงเพียง 1 รอบ จึงกล่าวได้ว่าการนำเชื้อไวรัสพีอีดีมาเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงชนิด Vero cells จำนวน 53 รอบนั้นสามารถลดความสามารถในการก่อโรคได้ โดยในการศึกษาขั้นต่อไป ควรที่จะศึกษาประสิทธิภาพของเชื้อไวรัสที่ผ่านการเพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยงจำนวน 53 รอบในสุกรอุ้มท้อง en
dc.description.abstractalternative The aim of this study was to investigate the pathogenesis of cell culture attenuated Thai porcine epidemic diarrhea virus (PEDV). The virus was cultured in Vero cells 53 passages. Twenty eight one-day-old colostrum-deprived piglets were separated into three groups: Group 1 (n=12) was inoculated with the 53rd-passage virus (attenuated group); Group 2 (n=12) was inoculated with the 1st-passage virus (virulence group) and Group 3 (n=4) was a negative control group. Clinical signs were observed every 6 hours. At 12, 24, 36, and 72 HPI., those pigs were euthanized and necropsied. Gross lesions and histopathological lesions were examined as well as villi height per crypt depth ratio measured in jejunum and ileum sections. Partial S-gene of PEDV was selected for RT-PCR detection. PEDV virus titers in samples were calculated using viral titration technique. At 24 HPI., clinical signs of piglets in Group 1 were less severe than those in Group 2. Gross lesions of piglets in both groups were similar; however, gross lesions of pigs in Group 1 were less severe. Histopathological lesion scores of pigs in Group 2 were higher and the severe cases showed shortening of villi, lymphocyte infiltration and sloughing of epithelial cells especially in ileum related with the VH/CD ratio. Again, the VH/CD ratio in ileum of pigs in Group 1 were higher than those of pigs in group 2 at 24 and 36 HPI (p<0.05). RT-PCR from pooled samples at each time point detected PEDV in both groups and the virus titers in samples of Group 2 were higher. In conclusion, the 53rd-passage Thai PEDV was still able to induce mild enteritis and diarrhea in the colostrums-deprived piglets. However, the severity of enteritis and villous atrophy were less than those found in the 1st-passage inoculated piglets. Cell culture attenuation in this study is able to reduce PEDV pathogenicity. Future study should be done in order to investigate the efficacy of this attenuated virus in pregnant sows. en
dc.format.extent 1885155 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1992
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สุกร -- โรคเกิดจากไวรัส en
dc.title พยาธิกำเนิดของไวรัสพีอีดีสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทยหลังจากทำให้อ่อนกำลังผ่านเซลล์เพาะเลี้ยงในลูกสุกรที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลือง en
dc.title.alternative Pathogenesis of cell culture-attenuated Thai-isolated porcine epidemic diarrhea virus (PEDV) in colostrum-deprived piglets en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline พยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor roongroje.t@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1992


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record