Abstract:
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสํงเสริมการรับรู้สมรรถนะแหํงตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กงตํอความสามารถในการทำหน๎าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอยำงคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 42 ราย ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม 2554 แล้วจับคู่ (matched pair) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ในเรื่อง เพศ อายุ ระดับความสามารถทำหน้าที่ของร่างกาย แบ่งตามเกณฑ์ The New York Heart Association Functional Classification โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมสํงเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) และความคาดหวังในผลลัพธ์การออกกำลังกายของ Bandura (1986) ผู้วิจัยใช้การออกกำลังกายแบบชี่กงจากการทบทวนวรรณกรรม และแนวทางการออกกำลังกายเวชศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัย แห่งสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ 2006 และผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย (Six Minute Walk Test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได๎แกํ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถทำหน้าที่ของร่างกายของกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-7.0, p=0.000) 2. ความสามารถทำหน้าที่ของร่างกายของกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -3.07, p=0.001)