DSpace Repository

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบซี่กงต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชนกพร จิตปัญญา
dc.contributor.author สุรีรัตน์ กลิ่นไม้
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2013-03-05T02:22:05Z
dc.date.available 2013-03-05T02:22:05Z
dc.date.issued 2554
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29268
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสํงเสริมการรับรู้สมรรถนะแหํงตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กงตํอความสามารถในการทำหน๎าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอยำงคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลว จำนวน 42 ราย ที่เข้ารับการรักษา โรงพยาบาลศูนย์อุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนกรกฎาคม 2554 แล้วจับคู่ (matched pair) กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณลักษณะที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน ในเรื่อง เพศ อายุ ระดับความสามารถทำหน้าที่ของร่างกาย แบ่งตามเกณฑ์ The New York Heart Association Functional Classification โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับโปรแกรมสํงเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบชี่กง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของ Bandura (1997) และความคาดหวังในผลลัพธ์การออกกำลังกายของ Bandura (1986) ผู้วิจัยใช้การออกกำลังกายแบบชี่กงจากการทบทวนวรรณกรรม และแนวทางการออกกำลังกายเวชศาสตร์การกีฬาของมหาวิทยาลัย แห่งสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ 2006 และผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย (Six Minute Walk Test) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได๎แกํ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถทำหน้าที่ของร่างกายของกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=-7.0, p=0.000) 2. ความสามารถทำหน้าที่ของร่างกายของกลุ่มทดลอง เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= -3.07, p=0.001) en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study quasi-experimental research was to study the effect of promoting self-efficacy and outcome expectancy in qigong exercise program on functional capacity in heart failure patients. Samples were 42 heart failure patients at Uttaradit hospital, and were randomly assigned in equal to control group and experimental group, matched pair by age, sex, NYHA classification. The control group received a conventional nursing care while the experimental group received the promoting self-efficacy and outcome expectancy in qigong exercise program. The perceived self-efficacy was developed on Bandura (1997) and outcome expectancy was developed on Bandura (1986). For qigong exercise was developed and base on American college of sports medicine (2006) and a literature review. The instruments were test for the content validity by 6 experts. Data were analyzed by using descriptive statistic and t-test. The major finding were as follow: 1. The function capacity after receiving the program was significantly higher than before receiving the program at the .05 level.(t=-7.0, p=.000) 2. The function capacity after receiving the program was significantly higher than those who receiving a conventional nursing care at the .05 level.(t=-3.07, p=0.001) en
dc.format.extent 5382747 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1005
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ซี่กง -- การใช้รักษา en
dc.subject การออกกำลังกาย -- การใช้รักษา en
dc.subject หัวใจวาย -- การรักษา en
dc.subject หัวใจ -- โรค -- การรักษาด้วยการออกกำลังกาย en
dc.title ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและความคาดหวังในผลลัพธ์ของการออกกำลังกายแบบซี่กงต่อความสามารถในการทำหน้าที่ของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว en
dc.title.alternative The Effect of promoting self-efficacy and outcome expectancy in qigong exercise program on functional acpacity in heart failure patients en
dc.type Thesis es
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2011.1005


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record